กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ด้วยหัวใจ
รหัสโครงการ 2564-L6896-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 96,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่สำคัญ และเป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดตรัง เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดและต้องรักษาอย่างต่อเนื่องหากมีการดูแลตนเองไม่ถูกต้องจนเกิดภาวะแทรกซ้อน จากสถิติ การเจ็บป่วยของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครตรัง 5 อันดับโรค ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง มีดังต่อไปนี้ 1. โรคความดันโลหิตสูง 2,600 คน 2. โรคเบาหวาน 2,049 คน 3. โรคหัวใจ 272 คน 4. โรคหลอดเลือดสมอง 322 คน 5. โรคมะเร็ง 559 คน ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง มีทั้งสิ้น 60,365 คน 15,826 หลังคาเรือน และมีผู้ป่วยเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยในคลินิกชุมชนอยู่ทั้งสิ้น 708 คน(ข้อมูล ณ กันยายน 2563) มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 65 คน ซึ่งทางทีมพยาบาลชุมชน มีความตระหนักว่า ถ้ามีการนำร่องในการดูแลให้ความรู้ ให้ผู้ป่วยดังกล่าว สามารถดูแลตนเองได้ดี มีทักษะคุณภาพชีวิตก็จะตามมา กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดให้มี “โครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ด้วยหัวใจ” ขึ้น เพื่อให้ให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถดูแลตนเองได้ดี มีทักษะคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคร่วมได้รับการดูแลรักษาตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคร่วม เข้าร่วมโครงการ สามารถคุมความดันโลหิตได้อย่างน้อย ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและการเกิดโรคร่วม

ร้อยละ 10 ของโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคร่วม  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดโรคร่วม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 96,600.00 2 84,750.00
8 ธ.ค. 63 . กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีโรคร่วมในชุมชน 0 3,900.00 450.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมติดตามดูแลควบคุมความดันโลหิตผู้สูงอายุในชุมชน 0 92,700.00 84,300.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมพร้อมให้การติดตามตลอดโครงการ 3. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินงาน 1. สำรวจ เตรียมเอกสารและเชิญกลุ่มเป้าหมาย 2. จัดกิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีโรคร่วมในชุมชน   - การให้ความรู้และเทคนิคการดูแลตนเองของผู้ป่วย   - การทำข้อมูลผู้ป่วยเป็นรายชุมชน และรายเดือนเพื่อติดตามดูการเปลี่ยนแปลง 3. ติดตามดูแลควบคุมความดันโลหิตผู้สูงอายุในชุมชน 4. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
  2. เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดการเกิดโรคร่วม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 14:31 น.