กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทันตสาธารณสุขในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L6896-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 49,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทุกช่วงวัยดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัยจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปากตั้งแต่เริ่มแรก จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากและพฤติกรรมการบริโภคเพื่อช่วยกันเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีและสามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคจะลุกลามจนยากที่จะแก้ไขได้ จากการดำเนินการตรวจสุขภาพในช่องปากปีงบประมาณ 256๓ ได้ดำเนินการและมีผลการดำเนินงานใน 3 กลุ่มดังต่อไปนี้ - ผู้ป่วยในคลินิกเรื้อรัง(11 ชุมชน)ได้ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากไปทั้งสิ้น 368 คน พบว่าเป็นกลุ่มปกติ 40 คน คิดเป็นร้อยละ 12.23 กลุ่มเสี่ยงปานกลาง 260 คน คิดเป็นร้อยละ 70.65 กลุ่มเสี่ยงสูง 63 คนคิดเป็นร้อยละ 17.12 - มารดา – ทารกหลังคลอด( 11 ชุมชน)ได้ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากไปทั้งสิ้น 58 คน พบว่าเป็นกลุ่มปกติ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.34 กลุ่มเสี่ยงต่ำ 38 คนคิดเป็นร้อยละ 65.52 กลุ่มเสี่ยงปานกลาง 12 คนคิดเป็นร้อยละ 20.69 กลุ่มเสี่ยงสูง 2 คนคิดเป็นร้อยละ 3.45 ทารกหลังคลอดมีคราบน้ำนม 36 คนคิดเป็นร้อยละ 62.07 - ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง 27 ชุมชน ได้ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากไปทั้งสิ้น 125 คน พบว่าป็นกลุ่มปกติ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 กลุ่มเสี่ยง 85 คน คิดเป็นร้อยละ 68.0 กลุ่มเสี่ยงสูง 18 คนคิดเป็นร้อยละ 14.4 ในการนี้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำ “โครงการทันตสาธารณสุขในชุมชนเขตเทศบาลนครตรัง ปี 2564” ขึ้นเพื่อจะได้ดูแล แก้ไข รักษา ส่งเสริมผู้ป่วยในคลินิกเรื้อรัง,มารดาหลังคลอดและกลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทุกระดับ,ทุกคนที่มีปัญหา ให้มีสุขภาพในช่องปากดีขึ้นตามสภาพของแต่ละบุคคลเพื่อส่งผลต่อเนื่องถึงชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้อรังใน 11 ชุมชน ที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลทุกคนและได้รับบริการแก้ไขตามรายบริบทบุคคล

ร้อยละ 20 ผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้อรังใน 11 ชุมชน ที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาตามรายบริบทบุคคล

0.00
2 มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้/มีความเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน มีความรู้ มีความเข้าใจสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกได้เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 85

0.00
3 มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการสาธิต/คำแนะนำในการฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก

ร้อยละ 100 มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ที่ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทันตภิบาล

0.00
4 มารดาหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายเก่าที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาตามรายบริบทบุคคล

ร้อยละ 50 มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายเก่าที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลบริการแก้ไขปัญหาตามรายบริบทบุคคล

0.00
5 เพื่อให้กลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการทุกคนในเขตเทศบาลนครตรังได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปากภายใน 1 ปี

ร้อยละ 80 ของกลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการทุกคนในเขตเทศบาลนครตรังได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปากภายใน 1 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,790.00 3 49,790.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมบริการทันตสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้อรังใน 11 ชุมชน ที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยง 0 25,810.00 25,810.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมบริการทันตสุขภาพแก่มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่และรายเก่า 0 15,220.00 15,220.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมบริการทันตสุขภาพแก่กลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการในเขตเทศบาลนครตรัง 0 8,760.00 8,760.00

ขั้นเตรียมการ 1. ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. นำข้อมูลผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้องรังใน 11 ชุมชน ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรายบุคคล 3. นำข้อมูลมารดาและทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชน ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรายบุคคล 4. นำข้อมูลกลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการในเขตเทศบาลนครตรัง ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรายบุคคล 5. จัดทำสื่อการดูแลสุขภาพในช่องปากแก่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลแก้ไขทุกคน 6. จัดหาอุปกรณ์ในการสาธิตและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเสี่ยงทุกคน 7. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินงาน 1. บริการทันตสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้อรังใน 11 ชุมชนที่มีปัญหา/กลุ่มเสี่ยงรายบุคคล 2. บริการทันตสุขภาพแก่มารดา – ทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 สัปดาห์ที่บ้านในเขตรับผิดชอบ จำนวน 11 ชุมชนในรายใหม่ทุกรายและรายเก่าที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยง 3. บริการทันตสุขภาพแก่กลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการที่สามารถดูแลหรือมีปัญหา 4. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม 5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยที่รับยาในคลินิกเรื้อรังใน 11 ชุมชน ที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลทุกคนและได้รับบริการแก้ไขตามรายบริบทบุคคล
  2. มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้/มีความเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและของทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
  3. มารดา – ทารกหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายใหม่ ที่พบทุกรายได้รับการสาธิต/คำแนะนำในการฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก
  4. มารดาหลังคลอดใน 11 ชุมชนรายเก่า ที่มีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลและแก้ไขปัญหาตามรายบริบทบุคคล
  5. เพื่อให้กลุ่มพึ่งพิงที่มีหัตถการทุกคนในเขตเทศบาลนครตรังได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปากภายใน 1 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 14:35 น.