กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุก
รหัสโครงการ 2564-L3311-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 8,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยรรยง มากมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 61 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยติดอันดับในกลุ่ม ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ทั้งวัณโรค (TB) วัณโรคที่มีการติดเชื้อ เอชไอวีร่วมด้วย (TB/HIV) และ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) โดยปีพ.ศ.๒๕๕๙ องค์การอนามัยโลกได้ กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า ๑๐ ต่อแสนประชากรโลกภายใน ปี พ.ศ. ๒๕๗๘ โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีเป้าประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรคให้เหลือ ๘๘ ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี ๒๕๖๔ โดยมุ่งเน้น“ค้นให้พบ จบด้วยหาย” พัฒนาระบบและเครือข่าย นโยบายมุ่งมั่น สร้างสรรค์นวัตกรรม”แนวทางการควบคุมวัณโรคของประเทศไทยจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนแผนงานวัณโรคให้ได้ตามเป้าหมายที่ กำหนดเพื่อให้การแก้ไขปัญหาวัณโรคสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านการตรวจ วินิจฉัย การรักษา และการป้องกันตามเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้
    จะเห็นได้ว่าวัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งระดับประเทศระดับจังหวัดและระดับอำเภอ            สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา อัตราป่วยวัณโรคต่อแสนประชากรตั้งแต่ปี 2559 – 2563 คือ 0, 65.49, 65.81, 33.14 และ 66.78 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2563 อัตราป่วยวัณโรคสูงสุด          เป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และตรวจเสมหะพบเชื้อทุกราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มที่มีโรคร่วม
    ดังนั้น เพื่อการควบคุมการเกิดวัณโรคในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา จึงได้จัดโครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุก โดยอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงให้เข้าสู่ระบบ และให้ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาวัณโรคตามแนวทางวัณโรคแห่งชาติ ร่วมกับการควบคุม กำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTs) ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการคัดกรองวัณโรคและมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่รักษาตัวที่บ้าน

-กลุ่มเป้าเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ -กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดกรองวัณโรคและมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่รักษาตัวที่บ้าน

0.00
2 ๒.เพื่อให้ประชาชน ได้รับการคัดกรองวัณโรคและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนการรักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง

-ประชาชนได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 85 -ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้ได้รับการขึ้นทะเบียนการรักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00
3 ๓.เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรค ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมี พี่เลี้ยง (DOTs)
  • ผู้ป่วยวัณโรค ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ โดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมี พี่เลี้ยง (DOTs) ร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่อสม. ในเรื่องการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุก
  5. คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุกและให้ความรู้เรื่องวัณโรค ในพื้นที่โดยอสม.
  6. ส่งต่อกลุ่มสงสัยวัณโรคเข้ารับการตรวจตามแนวทาง หากพบป่วยวัณโรคให้การดูแลรักษาตามแนวทางที่ โรงพยาบาลเขาชัยสน
  7. เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค พร้อมให้ความรู้แก่พี่เลี้ยงกำกับการกินยา (DOTs)
  8. สรปุผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มวัยได้รับการคัดกรองวัณโรค
  2. กลุ่มที่คัดกรองที่พบสงสัยวัณโรคได้รับการส่งต่อตรวจและรักษาตามแนวทางวัณโรค มีกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 15:15 น.