กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร
รหัสโครงการ 2564-L3311-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยรรยง มากมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้างในเลือด และได้รับความรู้ ทักษะ การใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อตรวจคัดกรองหาสารเคมีตกค้างในเลือด ในกลุ่มเกษตรกร

เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ 90

0.00
2 ๒.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้ ทักษะ การใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

กลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้ ทักษะ การใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อตรวจคัดกรองหาสารเคมีตกค้างในเลือด ในกลุ่มเกษตรกร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒.เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้ ทักษะ การใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมคณะทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหยา เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. กิจกรรมการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือด ในกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 100 คน
  5. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ในเรื่องการการใช้และการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  6. สรปุผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความรู้ ทักษะ การใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
๒. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 15:48 น.