กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2564-L3311-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2020 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร ชะหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตของ    รพ.สต.บ้านไสนายขัน พ.ศ.2560 – 2563 พบว่าประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 92.91 ,90.82 และ92.30 ตามลำดับ และในปี 2563 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 258 คน (ร้อยละ 20.17 ) พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 285 คน (ร้อยละ 11.49)  จึงควรมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป้าหมาย กลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือด ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดย กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายเพื่อลดความรุนแรงของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขันได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานความดัน

1.ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ มากกว่า 35 ปี ได้รับการคัดกรอง

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ระยะเตรียม           ๑.๑. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชน           ๑.๒. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำโครงการฯ           ๑.๓. เขียนโครงการและเสนอโครงการฯ เพื่อขอการสนับสนุนงบประมาณ           ๑.๔. จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการฯ     ๒. ระยะดำเนินการ           ๒.๑. จัดทำเอกสารประกอบการคัดกรองสุขภาพ และแบบติดตามประเมินผล           ๒.๒. ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการคัดกรองสุขภาพ           ๒.๓. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ               ๒.๓.๑. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน(โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ )               ๒.๓.๒. คัดกรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว คำนวณค่าดัชนีมวลกาย(BMI ) ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด(DTX) และวัดความดันโลหิต               ๒.๓.๓. ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพรายบุคคล           ๒.๔. ลงบันทึกผลการคัดกรองรายบุคคลในโปรแกรม JHCIS           ๒.๕. จัดทำทะเบียนประชากรจำแนกเป็น กลุ่มดี กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย         ๒.๖ จัดทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมมีดังนี้ ๒.๖.๑. ประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ ๒.๖.๒. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลของผู้เข้าร่วมโครงการ ๒.๖.๓. อบรมเชิงปฏิบัติการ ๒.๖.๔. ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคลเกี่ยวกับ น้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิตทุก ๑ เดือน

    ๓. ระยะสรุปผล           ๓.๑ สรุปผลการดำเนินงานการจัดโครงการฯ           ๓.๒ จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน           ๓.๓ นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุก ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขันได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างน้อย ร้อยละ ๙0   ๒. ค้นพบประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในพื้นที่     3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2020 09:08 น.