กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L3311-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ม.1 บ้านนาหยา
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2020 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 12,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจรรยา ปานศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไขนอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดสมอง อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือดโรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น
สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานและวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงภาวะเครียด จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในปี 2563 เป้าหมายในการคัดกรอง จำนวน 504 คน พบผู้มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.16 ในกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแล หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาระต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนในพฤติกรรมสุขภาพ เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกาย  มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน การแสดงอาการจากความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง จะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆ ปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ยกเว้นในรายที่มีการสูงมาก อาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรง เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงและเบาหวานก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ดังนั้น จึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ว่าเป็น "ภัยเงียบ" หรือ "ฆาตรกรเงียบ" นั่นเอง
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 1 บ้านนาหยา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ปี2564 ให้มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะแทรกซ้อน และการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยขอความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุน ในการขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อความครอบคลุมในการจัดโครงการในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง  ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่นยืน

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้และมีความยั่งยืน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ
  4. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง    ในกลุ่มเสี่ยง และคัดกรองสุขภาพ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว วัดความดันโลหิต
  5. ติดตามหลังการอบรม 3 เดือน หากพบผู้มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง แจ้งและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการ
  6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยรายใหม่ที่ตรวจคัดกรองพบ ได้รับการรักษา ลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2020 09:43 น.