กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8429-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านไร่ออก
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัจฉริยา บัวทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ก.พ. 2564 4 ก.พ. 2564 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 423 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
  ปัจจุบันนี้ปัญหาการเกิดโรคติดต่อในชุมชนเกิดจากหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งกายภาพและสังคม หากขาดการใส่ใจ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและ การกำจัดขยะ รวมทั้งการกำจัดสัตว์หรือแมลงนำโรค เป็นต้น การละเลยการสร้างสุขนิสัยของตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยของตนเองให้ถูกต้อง
  จากข้อมูลการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญของจังหวัดตรัง ปี 2563 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคชิคุนกุนยาและโรค ไข้เลือดออกที่ผ่านมา พบว่า มีอัตราการเกิดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 60.56 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (46.11), อายุ 15-24 ปี (35.63) อายุ 0-4 ปี (24.12) และ อายุ 25-34 ปี (19.67) ตามลำดับ ผู้ป่วยเพศชาย 6,643 ราย เพศหญิง 6,121 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.92 นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่ออื่นๆเช่น โรคมือเท้าปาก ไข้หวัดใหญ่และวัณโรค เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าว นับว่ายังเป็นหาสาธารณสุข ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการร่วมกันวางแผนและแก้ไขปัญหา ภายใต้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดปัญหาระบาดของโรคติดต่อที่พบบ่อยในชุมชน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชนชนในระยะยาวได้   สถานการณ์โรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ออก ในปี 2563 พบว่า มี 3 โรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่อัตราป่วยต่อแสนประชากร ได้แก่ โรคไข้เลือดออก 6 ราย (248.55) โรคฉี่หนู 1 ราย (41.43) และโรคชิคุนกุนยา 1 ราย (41.43) ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ออก ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมุ่งเน้นกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความตระหนักและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การควบคุมโรคที่รวดเร็วและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ทีมเฝ้าระวังมีสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชนได้ ชุมชุนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน และเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อที่นำโดยแมลงที่สำคัญในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทีมเฝ้าระวังมีสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชนได้

ทุกหมู่บ้านมีระบบในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้

100.00
2 เพื่อให้ชุมชุนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

ร้อยละ 80 ของหลังคาเรือนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อที่นำโดยแมลงที่สำคัญในชุมชน

ร้อยละ 90 ของหมู่บ้าน มีค่า HI < 10 และ CI = 0

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 423 25,000.00 1 25,000.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรม 1 จัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังควบคุโรคและวางแผนระบบการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ 2 จัดทำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำครัวเรือนและผู้นำชุมชน ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ 3. ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 423 25,000.00 25,000.00
  1. ประสานคณะทำงานโครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการและกำหนดมาตรการการดำเนินงานโครงการ
  2. พัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคและวางแผนระบบการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
  3. จัดรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
  4. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 5 มีทีมควบคุมโรคดำเนินการ กรณีเกิดโรค
  5. จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
  6. สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชุนตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเกิดโรค มีความรู้และสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน
  2. สภาพแวดล้อมในชุมชนส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
  3. ปัญหาโรคติดต่อในชุมชนลดลง
  4. ชุมชนมีทีมเฝ้าระวังที่มีความรู้และสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชนได้ทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 09:48 น.