กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารสู่มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ปี2560
รหัสโครงการ 60-L7252-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มกราคม 2017 - 29 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายเลิศฤทธิื จันทร์สุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานประกอบการร้านอาหารมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ “อาหาร” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่อาจมองข้ามได้ เพราะอาหารจะส่งผลโดยตรงต่อระบบสุขภาพของผู้บริโภค หากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และสะอาดถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลจะส่งผลดีต่อระบบสุขภาพของประชาชนโดยตรง และในทางตรงข้ามหากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีการปนเปื้อน ไม่สะอาดถูกหลักอนามัย และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ จะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรงเช่นกัน อาจนำไปสู่การเกิดโรคที่มีอาหารเป็นสื่อนำได้การป้องกันหรือควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องมีการป้องกันจากต้นเหตุนั้นก็คือ เจ้าของสถานประกอบการร้านอาหาร รวมไปถึงผู้สัมผัสอาหารทุกคนในทุกขั้นตอนของการเตรียม ปรุง และเสริฟอาหาร ต้องมีความรู้ มีความตระหนักในการปฏิบัติตัวให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างสูงสุด
ในการนี้ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา มีแนวคิดพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารภายในเขตเทศบาลเมืองสะเดา ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) ในการนี้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารสู่มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสะเดา ป้องกันการปนเปื้อนในอาหารไปสู่ผู้บริโภค พัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อสร้างทะเบียนผู้ประกอบการร้านอาหารภายในเขตเทศบาลเมืองสะเดา ให้เป็นระบบสะดวกต่อการค้นหา และตรวจสอบ

 

2 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสะเดา

 

3 3) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหารไปสู่ผู้บริโภค

 

4 4) เพื่อยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารภายในเขตเทศบาลเมืองสะเดาให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) สำรวจสถานประกอบการร้านอาหารที่มีอยู่ทั้งหมดในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา และจำแนกออกเป็น 2 ประเภทตามพื้นที่ประกอบกิจการ คือ พื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร และพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร 2) ลงพื้นที่ตรวจประเมินครั้งที่ 1 ตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) 3) จัดอบรม ผู้ประกอบการร้านอาหาร - ส่งเสริมความรู้แนวทางการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เพื่อพัฒนา และยกระดับสถานประกอบการร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) 4) ให้ระยะเวลาผู้ประกอบการร้านอาหาร เป็นเวลา 15 วัน เพื่อทำการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาสถานประกอบการร้านอาหารของตนเอง ให้ได้ตามมาตรฐานฯ 5) ลงพื้นที่ตรวจประเมินครั้งที่ 2 ตามเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste)
6) แจ้งผลการตรวจไปยังผู้ประกอบการ หลังจากลงตรวจประเมิน เป็นเวลา 15 วัน หากสถานประกอบการร้านอาหารใดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ จะต้องแจ้งให้มีการแก้ไข และลงตรวจซ้ำหลังจากการแจ้ง เป็นเวลา 7 วัน 7) สรุปผลการตรวจจัดทำทะเบียนผู้ประกอบการ จัดทำเกียรติบัตร และป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) 8) มอบเกียรติบัตร และป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean food good taste) แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ
9) สรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) มีทะเบียนผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นระบบ สะดวกต่อการค้นหา ตรวจสอบ รายละเอียดของผู้ประกอบการร้านอาหาร 2) ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านสุขาภิบาลอาหารเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม 3) มีสถานประกอบการร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย
(Clean food good test) เพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2017 10:27 น.