กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี ตำบลบ่อหิน
รหัสโครงการ 64-L8429-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2564 - 30 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ แสงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 4,240.00
รวมงบประมาณ 4,240.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่พบได้บ่อย คืออัตราไหลของน้ำลายลดลง เหงือกอักเสบ (การอักเสบของเหงือกและมีเลือดออกเหงือกบวมแดงเหงือกโตผิดปกติ) ฟันผุ และการสึกกร่อนของฟัน เป็นต้นโรคในช่องปากที่มีโอกาสพบมากในหญิงตั้งครรภ์คือเหงือกอักเสบโรคปริทันต์  และโรคฟันผุ หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดเหงือกอักเสบรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาจเกิด ฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้น และการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดีอาการอาเจียนบ่อยๆขณะแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อยที่เป็นกรด ภาวการณ์เป็นโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบอาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ และการคลอด มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิด ภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย จากการศึกษาของสำนักทันตสาธารณสุขพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย 6.6 ซี่ ร้อยละ 90.4 มีเหงือกอักเสบร้อยละ 89.60 และจากการศึกษาข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ในเขต ตำบลบ่อหิน ในปี 2564 จำนวน 25 คน พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ย 5.2 ซี่ ร้อยละ54.2 มีเหงือกอักเสบ รวมทั้งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ยังส่งผล ต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคตเพราะเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุสามารถส่งต่อจากแม่หรือคนเลี้ยงไปสู่เด็กผ่านทางน้ำลาย ดังนั้นแม่ที่อนามัยช่องปากไม่สะอาดมีฟันผุมากจึงมีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะส่งผ่านเชื้อไปสู่ลูกแม่ที่มีฟันผุสูงมีโอกาสที่จะ ส่งผ่านเชื้อที่ทำให้ฟันผุไปยังลูกผ่านทางน้ำลายโดยเด็กที่ได้รับเชื้อที่ทำให้ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยร่วมกับการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเกิดฟันผุรวดเร็ว และรุนแรงนอกจากนี้การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำรวมถึงให้บริการขูดหินน้ำลายยังช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ได้กว่าครึ่งรวมทั้ง การสร้างทัศนคติและทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดีจะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต
    จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ย้อนหลัง 3 ปี (ปี58-60) พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 51.1 48.5 และ 47.1 ภาคใต้ พบเด็กเด็กอายุ 3 ปี (ปี58-60) ปราศจากฟันผุร้อยละ 43.6 45.8 และ 43.0 จังหวัดตรัง  เด็กอายุ 3 ปี (ปี57-59) ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.8 44.7 และ 43.09
    และจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากย้อนหลัง 3 ปี (ปี 58-60) ของอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.4 58.4  และ 58.71 จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรม ทันตสุขภาพปี 2560 พบว่า ร้อยละการแปรงฟันในตอนเช้า ของเด็กปฐมวัย ระดับประเทศร้อยละ 86.8 ภาคใต้ 88.3 จังหวัดตรัง84.7 และอำเภอสิเกา 85. ร้อยละของผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กปฐมวัยระดับประเทศ 42.5 ภาคใต้ 38.1 จังหวัดตรัง 45.7 และอำเภอสิเกา 44.8 ร้อยละการดื่มนมรสหวาน และรสเปรี้ยวระดับประเทศ 44.5 ภาคใต้ 44.2 จังหวัดตรัง 44.7 อำเภอสิเกา 43.1 และพฤติกรรมของการดูดนมจากขวดระดับประเทศ 39.5 ภาคใต้ 37.8 และจังหวัดตรัง 37.4 และอำเภอสิเกา 33.5     ในภาพรวมเด็กกลุ่มนี้ปราศจากฟันผุมากขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์การสำรวจพฤติกรรมพบว่ามีข้อพฤติกรรมบางอย่างของผู้ปกครองในอำเภอสิเกาที่ยังต้องปรับเปลี่ยน เช่นร้อยละการแปรงฟันในตอนเช้าของเด็กปฐมวัยยังน้อยกว่าระดับประเทศ และระดับภาค การรักษาโรคฟันผุในเด็กเล็กนั้นทำได้ยาก เพราะเด็กไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ในการรักษา ผู้ปกครองบางท่านไม่ให้ความสนใจที่จะพาเด็กมารับบริการ เนื่องจากการนำเด็กเล็กมารับบริการนั้นผู้ปกครองอาจจะต้องหยุดงานทำให้ขาดรายได้ ผู้ปกครองบางคน จึงไม่สามารถพาเด็กมารับบริการได้หรือมารับบริการได้แต่  ไม่ต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาโรคฟันน้ำนมผุเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กนั้นสามารถ ทำได้ง่ายกว่าแนวทางการควบคุมและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ประการสำคัญคือการลดเชื้อโรค ในช่องปาก โดยการทำความสะอาดช่องปาก การควบคุมอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน และส่งเสริมการใช้ฟลูออไรด์รวมถึงการรักษาหากมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการป้องกันสาเหตุการเกิดโรคนั้น สามารถดำเนินการโดยตรงได้จากผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัว
ดังนั้นทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสิเกาจึงได้จัดทำโครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี  ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูกได้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน

100.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน

ร้อยละ 50 ของ  หญิงตั้งครรภ์สามารถสาธิตย้อนกลับวิธีการแปรงฟันได้ถูกต้อง

50.00
3 เพื่อให้ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน

ร้อยละ 100 ของ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่บุตรหลาน

100.00
4 เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ ทาฟลูออไรด์วานิช

เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ  ทาฟลูออไรด์วานิช

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้เด็กอายุ 6เดือน – 2 ปี ได้รับการ ทาฟลูออไรด์วานิช

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

25 ม.ค. 64 - 18 พ.ค. 64 1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา -หญิงตั้งครรภ์ได้ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟัน 25.00 550.00 -
19 - 21 พ.ค. 64 เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี -พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและรับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน -เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช 80.00 3,690.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1. สำรวจ จำนวนและรายชื่อประชากร เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินโครงการ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และประชาสัมพันธ์ 3.ตรวจสุขภาพช่องปาก และให้ทันตสุขศึกษา แก่หญิงตั้งครรภ์ 4.ฝึกทักษะการแปรงฟัน ย้อมสีฟัน และขัดทำความสะอาดฟันแก่หญิงตั้งครรภ์ 5. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อหิน เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี
1. สำรวจ จำนวนและรายชื่อประชากร เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินโครงการ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และประชาสัมพันธ์ 3.ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่พ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริง และเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่บุตรหลาน 4.ทาฟลูออไรด์วานิช ในเด็ก 6 เดือน -2 ปี 5. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ่อหิน สถานที่ดำเนินการ
1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์    สถานที่ดำเนินการ คลินิกหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลสิเกา 2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี สถานที่ดำเนินการ คลินิกเด็กดีโรงพยาบาลสิเกา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม 3. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้ เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี
1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2. เด็กก่อนวัยเรียน 0-2 ปี รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 13:27 น.