กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลวังยางปี 2563
รหัสโครงการ L0453
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังยาง
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุข สามงามเอี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุกัญญา พงศ์ประภาอำไร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.207668,99.760071place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ค. 2563 31 ก.ค. 2563 25,960.00
รวมงบประมาณ 25,960.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหา ซึ่ง ปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 -75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5 -14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน และสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดกำแพงเพชร ในปี 2563 มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าระบบรายงาน จำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 9,407 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูล 1 มกราคา 2563 ถึง 16 มิถุนายน 2563) และอำเภอคลองขลุง มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าระบบรายงาน จำนวน 14 ราย พบว่ามีอัตราการป่วย 20.30 ต่อประชากรแสนคน และจากรายงานประจำเดือน อสม. 1 ในเขตพื้นที่ตำบลวังยาง พบผู้ป่วยที่สงสัยอาจเป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย ซึ่งมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเอง ไม่ให้ถูกยุงกัด และจะต้องมีการลดจำนวนยุงตัวแก่ในพื้นที่เพื่อที่จะลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และอาจมีการระบาดในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ตำบลวังยางทั้ง 9 หมู่บ้านอีก เพื่อเป็นการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคไข้เลือดออกของตำบลวังยาง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกที่อาจเกิดขึ้นซ้ำของตำบลวังยาง ทำลายยุงตัวแก่ที่อาจมีเชื้อไข้เลือดออกในละแวกที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีการระบาดและพื้นที่ใกล้เคียงในตำบลวังยางได้ และไม่เกิดผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่และลดโอกาสการเกิดผู้ป่วยซ้ำในพื้นที่เกิดโรคเก่า

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1560 25,960.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ดำเนินกิจกรรมกำจัดยุงตัวแก่ด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดยุงในหมู่บ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออกและพื้นที่ใกล้เคียง และทุกหน่วยงาน วัด โรงเรียน และแหล่งที่เป็นแหล่งอาศัยของยุง ด้วยเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงชนิดหมอกควัน 1,560 25,960.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีการระบาดและพื้นที่ใกล้เคียงในตำบลวังยางได้
  2. ไม่เกิดผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่และลดโอกาสการเกิดผู้ป่วยซ้ำในพื้นที่เกิดโรคเก่า
  3. ประชาชนในพื้นที่ตำบลวังยางปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 13:47 น.