กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 2564-L3311-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ม.4 ต.ควนขนุน
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2020 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุมาลี เพ็ชรด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนในปัจจุบันพฤติกรรมเปลี่ยนไป จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านทั้งการบริโภคที่หลากหลาย พฤติกรรมเปลี่ยนไป คนในชุมชนมีการออกกำลังกายน้อยลงไม่สนใจดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง โรคหัวใจฯลฯ การให้ความรู้ความเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆทั้งการบริโภค เมนูสุขภาพ การออกกำลังกาย จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว คนในชุมชนและรวมไปถึงพระภิกษุสงฆ์ในวัด สามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ทั้งทางร่างกาย ทางอารมณ์ จิตใจ รู้จัก ลด ละ เลิก และยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับคนในชุมชน จากข้อมูลของ รพ.สต.บ้านไสนายขัน ปี 2563 ประชาชนในเขตหมู่ที่ 4 ต.ควนขนุน มีกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ทั้งหมด 48 ราย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 98 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 84 ราย กลุ่มเสี่ยง 123 ราย ดังนั้นทางอสม. หมู่ที่ 4 ต.ควนขนุน จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน อันจะนำมาซึ่งความสุขของชุมชนและสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
  1. จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง
0.00
2 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้เข้าร่วม กิจกรรมกลุ่ม และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น

2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60

0.00
3 1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับ ความดันโลหิต ไม่ได้ ได้รับการติดตาม เยี่ยมบ้าน

3.ผู้ป่วยเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้  ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน

0.00
4 4.เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน

4.จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง    ไม่พบผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระดับ  4 และ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมร่วมกับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา และการติดตาม ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  2. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประสานงานกับหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ
  4. จัดเตรียม อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการคือ เครื่องวัดความดันโลหิต และแถบตรวจปริมาณเกลือในอาหาร
  5. กำหนดกิจกรรมให้ความรู้         - กลุ่มเสี่ยง ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง           - กลุ่มป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้นและรายที่ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิต ไม่ได้  ได้รับการติดตาม เยี่ยมบ้าน เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  6. ประสานงาน อสม. หรือ ผู้นำชุมชน ติดตามผู้ป่วยที่ไม่มารับการรักษาตามนัด
  7. อสม. ติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มป่วย และกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง
  8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
  9. รายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง
      2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60       3.ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้  ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน       4.จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ลดลง ไม่พบผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระดับ 4 และ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2020 14:28 น.