กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 2564-L3311-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ม.4 ต.ควนขนุน
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุมาลี เพ็ชรด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในหมู่ที่ 4 เมื่อ ปี 2563 จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 792.08 ต่อแสนประชากร มีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ และมากกว่าทุกๆปี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50  ต่อแสนประชากร

0.00
2 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  1. ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ  เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม  การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน  ชุมชน  วัด  โรงเรียนลดลง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
      1.1 จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ อสม./ประชาชนในพื้นที่
      1.2 ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำ
  2. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
      2.1 รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป   2.2 ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย   2.3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์  และสำรวจบ้านทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือนโดย อสม.
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
    1. ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก   3. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน วัด โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 14:51 น.