โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (2) 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก (3) 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในหมู่ที่ 4 เมื่อปี 2563 จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 792.08 ต่อแสนประชากร มีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ และมากกว่าทุกๆปี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก จากผลการดำเนินงาน พบว่า ปี 2564 บ้านและสิ่งแวดล้อมสะอาด ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) .
ปัญหา /อุปสรรค ยังพบอีกหลายหลัง ไม่ตระหนัก ไม่เห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยังคงพบขยะในบริเวณรอบๆบ้าน
แนวทางการแก้ไข ประชาสัมพันธ์เชิงรุก