กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเครือข่ายบ้านน้ำเค็ม ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม
วันที่อนุมัติ 21 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 95,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ ขรีดาโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม (ก.ค.-ส.ค.2563) จำนวน 193 คน พบว่า นักเรียนจำนวน 135 คน มีภาวะฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 69.95 ซึ่งเป็นอัตราที่สูง ส่งผลทำให้กระทบต่อการเรียน และจากการสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน พบว่านักเรียนไม่ได้แปรงฟันก่อนนอนจำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 38.34 นักเรียนชอบดื่มน้ำหวานเป็นประจำ 89 คน คิดเป็นร้อยละ 46.11 และนักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 64.25 และนักเรียนขาดทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีจำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 44.56 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและสภาวะฟันผุในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปีมีปัญหาสูงมากจนน่าเป็นห่วง การที่นักเรียนมีปัญหาฟันผุ จะทำให้เกิดอาการปวด อันจะส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ การพัฒการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพในวัยเรียนเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนโดยครูประจำชั้นพบว่ามีนักเรียนภาวะทุพโภชนาการซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ภาวะเตี้ย 11 คน คิดเป็นร้อยละ 5.70 ภาวะผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.55 ภาวะเริ่มอ้วน 16 คน คิดเป็น 8.29 และภาวะอ้วน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.63 ซึ่งจากปัญหาทั้งหมด จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นอกจากภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียนแล้ว สุขภาพอนามัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแลและให้ความสำคัญ เพราะหากครูและบุคลากรทางการศึกษามีปัญหาทางสุขภาพก็ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งจะกระทบต่อการจัดการศึกษาได้ จากข้อมูลพบว่า บุคลากรทั้งสิ้น จำนวน 17 คน ค่า BMI อยู่ในระดับปกติ 6 คน อยู่ระดับอ้วนในระยะแรก 6 คน และอยู่ในระดับอ้วนในระยะที่สอง 5 คน ซึ่งมีปัญหาสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ ในการดำเนินการด้านการพัฒนานักเรียน ยังค้นพบว่าปัญหาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน พบว่า พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่เกิดจากนักเรียนปฏิบัติตนในขณะอยู่ที่บ้าน ซึ่งเกิดจากผู้ปกครองขาดความรู้กษะและทัศนคติในการดูแลสุขภาพของผู้ปำครองเอง พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 67.78 มีภาวะอ้วน และมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก ร้อยละ 79.45
นอกเหนือจากที่กล่าวมา บทบาทของชุมชนก็มีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพร่างกายของคนในชุมชน ดังนั้นจำเป็นที่ดี มีความถูกต้อง เหมาะสม และสอดแทรกเรื่องสุขภาพช่องปาก จะเห็นได้ว่าเรื่องโภชนาการและสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยงเนื่องกัน และทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ นอกจากนี้การควบคุมดูแลในการรับประทานอาหารที่มีความหวานที่สูงนั้นย่อมก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆตามมา เช่นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง รวมทั้งแกนนำในชุมชน ให้เกิดความตระหนัก และให้ความสนใจด้านโภชนาการและการดูแลสุขภาพในช่องปากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม ผู้ปกครองนักเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตบุคลากร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านน้ำเค็มจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจและดูแลสุขภาพช่องปาก รวมทั้งสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

1.ร้อยละ80 ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปากมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

0.00
2 2.เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และแกนนำชุมชนบ้านน้ำเค็ม สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2.ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและแกนนำชุมชนบ้านน้ำเค็ม สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

0.00
3 3.เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการร่วมดูแลสุขภาพผ่านสังคมออนไลน์ในกลุ่มของเครือข่ายสุขภาพบ้านน้ำเค็ม

3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นเครือข่ายในการร่วมดูแลสุขภาพผ่านสังคมออนไลน์ของเครือข่ายสุขภาพบ้านน้ำเค็ม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 380 95,380.00 0 0.00 95,380.00
2 พ.ย. 63 1.อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องโภชนาการและทันตสุขภาพ 380 54,690.00 - -
24 ธ.ค. 63 2.อบรมให้ความรู้เรื่องโรงเรียนและชุมชนอ่อนหวาน ลดมัน ลดเค็ม 0 40,690.00 - -
24 ธ.ค. 63 3.สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 0 0.00 - -
รวมทั้งสิ้น 380 95,380.00 0 0.00 95,380.00

1.ขั้นการวางแผน

1.1สำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก และ ภาวะทุพโภชนาการ

1.2สำรวจข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาค่า BMI

1.3ประชุมคณะทำงานโรงเรียนบ้านน้ำเค็มและเครือข่ายหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ

1.4ประสานหน่วยงาน/องค์/วิทยากร เพื่อเป็นวิทยากรและคณะทำงานในการดูแลสุขภาพฃ

2.ขั้นการดำเนินการ

2.1การอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องโภชนาการและทันตสุขภาพ และฝึกทักษะการประเมินสภาวะเสี่ยงต่อโรคและการทำความสะอาดช่องปากแก่นักเรียน จำนวน 193 คน ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 130 คน และแกนนำชุมชนบ้านน้ำเค็ม จำนวน 40 คน

2.2อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในการเลือกรับประทานอาหารที่ลดปริมาณความหวาน ความเค็ม ความมัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้แก่ จำนวน 193 คน ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 130 คน และแกนนำชุมชนบ้านน้ำเค็ม จำนวน 40 คน

3.ขั้นติดตามตรวจสอบ ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

3.1ประเมินความรู้และทักษะของนักเรียน (โดยครูประจำชั้น)

-ประเมินทักษะการแปรงฟัน เดือนละ 1 ครั้ง (ม.ค,ก.พ,มี.ค,พ.ค,มิ.ย)

-ประเมินความรู้ในเรื่องโภชนาการและทันตสุขภาพ (ก่อนและหลังอบรม)

-ประเมินความรู้ในการเลือกรับประมทานอาหารที่ลดปริมาณความหวาน ความเค็ม ความมัน (ก่อนและหลังอบรม)

3.2ประเมินความรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และแกนนำชุมชนบ้านน้เค็ม (โดยคณะทำงาน)

-ประเมินความรู้ในเรื่องโภชนาการและทันตสุขภาพ(ก่อนปละหลังอบรม)

-ประเมินความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่ลดปริมาณความหวาน ความเค็ม ความมัน (ก่อนและหลังอบรม)

4.ขั้นสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

-ดำเนินการรวบรวมข้อมูล นำมาสรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนO

5.สร้างเครือข่ายสังคมออนไลนื

-ผ่านเพจ Facebook,กลุ่ม Line ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ทันตสุขภาพ และการดูแลสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุม มีความรอบรู้และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ลดปริมาณความหวาน ความมัน ความเค็ม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งสามารถดูแลของตนเองได้อย่างเหมาะสม 2.มีภาคีเครือข่ายมาช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการและการดูแลสุขภาพองค์รวมของกลุ่มเป้าหมาย 3.กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพที่ดีขึ้นและเป็นเครือข่ายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้บุคคลหรือกลุ่มอื่นๆต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 08:15 น.