โครงการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
ชื่อโครงการ | โครงการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน |
รหัสโครงการ | 2564-L3311-2-23 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนขนุน |
วันที่อนุมัติ | 2 ธันวาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 23,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายบุญสม แก้วเจริญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.491,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุที่มีเกิน 60 ปี ขึ้นไปร้อยละ 16 ของประชากร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าในปี พ.ศ.2564 จะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ 20 จากสถานการณ์เช่นนี้ จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกในสังคมและผู้สูงอายุทั้งมวล ชมรมผู้สูงอายุ ถือเป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบงานผู้สูงอายุ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุวัยทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับชุมชน เปรียบเสมือนเครื่องมือขับเคลื่อนและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวผู้สูงอายุเอง โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงวัย ทั้งในด้านสุขภาพ สังคม และสวัสดิการ ชมรมผู้สูงอายุในตำบลควนขนุน ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชน ได้จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เกิดกระบวนการการเรียนรู้งานด้านการแพทย์แผนไทย และสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดในชมรมผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุในตำบลควนขนุนได้เพิ่มพูนความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในชุมชน และหลักการใช้ในชีวิตประจำวัน มีสุขภาพที่ดีและรู้วิธีการป้องกันโรค ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนความรู้ และหลักการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพและการป้องกันโรค/การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม |
0.00 | |
2 | 2 ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุในตำบลควนขนุนได้พัฒนาจิตใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังเกตจากพฤติกรรมและทางกายภาพในการเข้าร่วมสังคมกิจกรรมและการสร้างความสุขสนุกสนานให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้าง |
0.00 | |
3 | 3 ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุได้สร้างเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย และนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการดำเนินชีวิต การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทยในชุมชน พฤติกรรมความสุข/สังเกตจากพฤติกรรมความพึงพอใจ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาความเหมาะสมโครงการตลอดจนข้อกำหนด 2. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 3. แต่งตั้งคณะกรรมการทำงานเพื่อกำหนดหน้าที่ 4. วางแผนการดำเนินงาน 5. ปฏิบัติงานตามแผน 6. สรุปผลการดำเนินงาน
- ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุในตำบลควนขนุนได้เพิ่มพูนความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในชุมชน และหลักการใช้ในชีวิตประจำวัน มีสุขภาพที่ดีและรู้วิธีการป้องกันโรค
- ผู้สูงอายุ และคณะทำงานผู้สูงอายุในตำบลควนขนุนได้พัฒนาจิตใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ผู้สูงอายุ และคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุในตำบลควนขนุนหันมาดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคโดยยึดหลักด้านการแพทย์แผนไทย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 13:10 น.