กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนควนขนุน ผู้สูงวัยเบิกบาน ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L3311-2-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 81,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนุกูล ชะหนู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการผู้สูงอายุหรือคนชรา ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชำติซึ่งได้จัดทำการสำรวจประชากรสูงอายุมาแล้ว 5 ครั้ง ผลจากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอำยุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัดโดยปี 2537 มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545 และปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 9.4 และ 10.7 ตามลำดับ ในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.2 และผลการสำรวจปี 2557 พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด (ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 16.1) จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน ตำบลควนขนุนมีประชากรทั้งหมด 8,460 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,683 คน คิดเป็นร้อยละ 19.9 ของประชากรของตำบลควนขนุนทั้งหมด ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัว ทำให้อัตราเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุข และเทคโนโลยี ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็นโครงสร้างแบบผู้สูงอายุ หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) การเป็นสังคมผู้สูงอายุคือ การที่มีจำนวนผู้สูงอายุหรือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มสูงขึ้นจนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่วัยเด็กและแรงงานลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงส่งผลกระทบต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การเตรียมความพร้อมรับมือเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น "โจทย์" ที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องรับมือตั้งแต่วันนี้ เพราะประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) มาตั้งแต่ปี 2547 และจะเข้าสู่ "สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" ในปี 2574 และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็ก การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสำคัญมาก ต้องมีการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเรื่องการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดการจัดสรรสวัสดิการที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งการบริการทางการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุเพราะนั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังคำกล่าวของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า “เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” ซึ่งปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทยประกอบด้วยปัญหาหลักๆ 3 ประการคือ 1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้น ตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงหมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง 2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจน เพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่ม เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุรวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่ยากไร้ให้มีความมั่นคงทางรายได้     3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการเคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคสมัยได้ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากสภาพปัญหาของผู้สูงอายุโดยภาพรวม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลควน ขนุน จึงวางแผนการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตัวเองและสังคม เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมพัฒนาและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ สามารถทำได้หลายด้าน หลายกิจกรรม หลายรูปแบบ และจำเป็นต้องอาศัยหลายภาคส่วนร่วมดำเนินการ การพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องบูรณาการกิจกรรมและผู้มีส่วนร่วมเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้การดำเนินงานในชื่อ “โครงการโรงเรียนควนขนุนวัยใส ผู้สูงวัยเบิกบาน ประจำปี 2564”ซึ่งดำเนินการไปแล้วเมื่อปี 2560 โดยประสบผลสำเร็จพอสมควรกับกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการพัฒนาทักษะ และการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น การดูแลสุขภาพกายใจ โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันเพื่อเกิดพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าสู่สังคม ทำกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

0.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายและใจดีสังเกตจากพฤติกรรมและทางกายภาพ

0.00
3 3เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำประโยชน์ต่อชุมชนช่วยเหลือสังคม

0.00
4 4เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อกันและถ่ายทอดสู่ลูกหลาน

0.00
5 5เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาและอนุรักษ์ไว้แก่คนรุ่นหลัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและเขียนโครงการ
2) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณดำเนินงาน
3) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่
4) คัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ 5) จัดทำแผนการดำเนินงาน / ประชาสัมพันธ์
6) ดำเนินการจัดกิจกรรม 7) ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้สูงอายุนำความรู้มาพัฒนาตนเองและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 4) คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ 5) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 14:54 น.