กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไร้โรค ไร้ขยะตำบลนาตาล่วง
รหัสโครงการ 64-L1491-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ธันวาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.584,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
4.00
2 จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)
700,000.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยเป็นตัวการสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน มลพิษทางอากาศ ขยะยังเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดโรค เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และเป็นปัญหาในการบริหารจัดการของประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เร่งมาตรการในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ตามการเจริญเติบโตของเมือง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้เป็นภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา อีกทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวคือการลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิด โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องใช้อย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี สร้างจิตสำนึกและความตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำ “โครงการไร้โรค ไร้ขยะตำบลนาตาล่วงขึ้น ” โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียน เพื่อจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

4.00 2.00
2 เพื่อบริหารงบประมาณในการจัดการขยะ

จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)

700000.00 300000.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 350 250,000.00 2 203,600.00
5 - 29 ม.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางและการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ 6 ชุมชน ๆละ 1 ครั้ง 300 240,000.00 200,000.00
9 มิ.ย. 64 กิจกรรม ประชุมถอดบทเรียนการจัดการขยะชุมชน 50 10,000.00 3,600.00

1 ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการบริหารกองทุน 2 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในแต่ละชุมชนชุมชนละ 50 ครัวเรือน 3 อบรมให้ความรู้ในการจัดการขยะชุมชน 4 จัดทำเอกสารความรู้เรื่องขยะ 5 จัดซื้อเครื่องบดย่อยกิ่งไม้ 6 สรุปผลโครงการ รายงานผลกับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-  ปริมาณขยะลดจำนวนลง - ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะมากยิ่งขึ้น - ประชาชนมีการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคที่มีพาหะนำโรคจากแหล่งเพาะพันธ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 13:33 น.