กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 60-L1531-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนเด็กเล็ก อบต.นาวง
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสถานศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.74,99.511place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2560 31 ต.ค. 2560 12,050.00
รวมงบประมาณ 12,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตระหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กเล็กที่เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.นาวง ส่วนมากมีผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการกรีดยางพารา ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่กลางคืนจนถึงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนมักเป็นเวลาต้องเก็บน้ำยาง ทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการกินอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับอาหารเช้าก่อนมาเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กเล็กที่ควรได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้
ในภาคเรียนที ๑/๒๕๖๐ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุกคนแล้ว โดยเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของกรมอนามัยตามช่วงอายุของเด็ก ปรากฏว่า มีเด็กที่มีทุพภาวะโภชนาการ จำนวน 30 คน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่เด็กเล็ก อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่เด็กเล็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน(เด็กและเยาวชน) ให้ เก่ง ดี มีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาวง จำนวน 30 คน

เด็กได้รับอาหารเสริม (ไข) วันละ 1 ฟอง ติดต่อกันเป็นเวลา อย่างน้อย 90 วัน

2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลเด็ก

ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก 1 ครั้ง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาวง
    1. เปรียบเทียบเกณฑ์น้ำหนัก/ส่วนสูง ของเด็กทุกคน ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ อายุของเด็ก
    2. ขอคำแนะนำเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง
      ต่ำกว่าเกณฑ์ของกรมอนามัย
    3. เสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาวง
    4. ประชุมชี้แจง และให้ความรู้เรื่องโภชนาการ แก่ผู้ปกครองเด็กที่เด็กมีน้ำหนัก/ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ และ ซักซ้อมให้จัดอาหารเสริมให้กับเด็กในวันที่หยุดเรียน
    5. ศพด.จัดอาหารเสริม(ไข่) ให้เด็กรับประทานพร้อมอาหารมื้อเที่ยง จำนวน 90 วันเปิดเรียน
    6. ติดตามการดำเนินการของผู้ปกครองและของ ศพด. โดยแบบบันทึกรายวัน
    7. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เด็กทุกคนที่ร่วมกิจกรรมเมื่อครบกำหนด
    8. ประเมินผลการดำเนินการ รายงานผลการดำเนินการให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลนาวง ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาวงที่มีปัญหาทุพโภชนาการ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
    ร้อยละ 60มีส่วนสูงตามเกณฑ์ร้อยละ 20
    1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่องการดูแลเด็กด้านโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 09:29 น.