กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-50105-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหยีใน
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจินตนา รัตนมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 31 ก.ค. 2564 10,220.00
รวมงบประมาณ 10,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่ได้รับนมโพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็กซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ 1- 5 ปีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในปี 2551 พบว่า เด็กมีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 49.8 สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก เน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุโดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด็กที่มีฟันผุมากกว่า 6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nuntiya et. Al,2018 ) การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาส่งเสริมให้เด็กสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคโดยตนเองภายใต้การจัดการให้ได้รับอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อ
ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหยีในองค์การบริการส่วนตำบลชะมวงอำเภอควนขนุน ได้ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับการใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบ โอติกส์เพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติก เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศ.ดร. รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ. สุพัชรินทร์พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ และจากการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหยีใน ได้ให้เด็กรับประทานนมไพรไบโอติกส์หลังการแปรงฟันหลังอาหาร คนละ ๓ เม็ด เป็นระยะเวลา ๔ เดือน ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กปรากฏว่าเด็กมีสุขภาพฟันที่ดีขึ้นมาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหยีในจึงจัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อให้เด็กได้รับประทานนมไพรไบโอติกส์ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและอนามัยช่องปากและป้องกันโรคฟันผุในเด็ก

จำนวนเด็กที่มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

35.00 28.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 76 10,220.00 2 10,220.00
7 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก เรื่อง นมโพรไบโอติก 38 10,220.00 10,220.00
7 เม.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ติดตามผลการกินนมโพรไบโอติก 38 0.00 0.00
  1. ศึกษาข้อมูลสุขภาพฟันของเด็กนักเรียน
  2. เสนอโครงการเพื่อขอการอนุมัติ
  3. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  5. ดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้
  6. สรุปและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ด้านนมโพรไบโอติก
  2. เด็กเล็กทุกคนได้รับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและป้องกันโรคฟันผุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 15:19 น.