กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5205-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบำรุง พรหมเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพสำหรับประชาชน ทุกคนมาอย่างต่อเนื่องและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้
  ปัจจุบันปัญหาด้านสาธารณภัย ภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมายได้ทุกพื้นที่ของประเทศและของโลกยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อุบัติซ้ำมีเพิ่มขึ้น เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ มือเท้าปาก ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลจาก ศูนย์ระบาด อำเภอนาหม่อม โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยาตำบลคลองหรัง ได้แก่ ท้องเสีย มือเท้าปาก ปอดบวม อีสุกอีใส ตาแดง เป็นต้น ทั้งนี้สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรค ภาวะโลกร้อนทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้รวดเร็วและกว้างขวาง และยังพบปัญหาหมอกควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งจะส่งผลกับประชาชนที่มีโรคทางเดินหายใจ หายใจไม่สะดวก และมีอาการแสบตาได้และในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีมีบางหมู่บ้านในตำบลคลองหรังประสบปัญหาน้ำท่วม อาจทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู ไข้หวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.คลองหรังได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างและให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ด้านสาธารณสุขในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพ ป้องกันโรครักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนระหว่างและหลังเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ร้อยละ 80
1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันสถานการณ์และทั่วถึง
  1. ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้รับช่วยเหลือ บรรเทาปัญหาความเดือดร้อน สนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างทันสถานการณ์
1.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพลดลง
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 1,000.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 64 ประชุมทีมงาน 40 1,000.00 -
2 จัดซื้อเวชภัณฑ์ สารเคมี วัสดุทางการแพทย์ อุปกรณ์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประจำเป็นให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 20,000.00 0 0.00
17 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อเวชภัณฑ์ สารเคมี วัสดุทางการแพทย์ อุปกรณ์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประจำเป็นให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย 100 20,000.00 -
3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ลงเยี่ยม ประเมินสุขภาพส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรคที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 4,000.00 0 0.00
17 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ลงเยี่ยม ประเมินสุขภาพส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรคที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน 10 4,000.00 -
4 ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
17 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล 0 0.00 -
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูล
  3. ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาหม่อม โรงพยาบาล นาหม่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่เปียะ
  4. ประชุมเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอสม. เพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์
  5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคหรือผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติ เช่น เวชภัณฑ์ยา หน้ากากอนามัย เป็นต้น
  6. ติดตามเยี่ยมและประเมินสุขภาพของประชาชนภายในพื้นที่ตำบลคลองหรัง
  7. ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
  8. ติดตามประเมินผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและรายงานผล
  9. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพ ป้องกันโรครักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนระหว่างและหลังเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
  2. สามารถให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในการดูแลสุขภาพ บรรเทาความเดือดร้อนจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ อย่างทันสถานการณ์
  3. อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2563 13:20 น.