กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. ติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ตำบลคลองหรัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5205-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางช่วงทิพย์ ขาวคุ้ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งในปี 2563 ในตำบลคลองหรัง พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร้อยละ 95 จะไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากสาเหตุใด มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ทราบสาเหตุ โดยพบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคไตอักเสบหรือเส้นเลือดในไตตีบ และจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตรียรอยด์ ยาแก้ปวดเข่า ปวดข้อ ยาโรคภูมิแพ้บางชนิด จากการคัดกรองผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2562 พบว่าตำบลคลองหรัง มีผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวนมาก ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาาระต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดามารดามีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดามารดามีภาวะความดันโลหิตปกติ ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน การแสดงอาการเนื่องจากความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง จะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบ หากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมาก อาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรง เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้น โอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงว่าเป็น ภัยเงียบ หรือ ฆาตกรเงียบ นั่นเอง ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลคลองหรัง จึงได้จัดทำโครงการ อสม. ติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ตำบลคลองหรัง ปี 2564 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดการสูญเสียของประชากรด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานได้ครอบคลุมในชุมชน

อสม.คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้ทุกราย

0.00
2 อสม.สามารถติดตาม แนะนำผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อสม.สามารถแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน ครบ 3 ครั้งทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 อสม.คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานในชุมชน 0 20,000.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 อสม.ติดตาม แนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน ครบ 3 ครั้งทุกราย 0 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน 0 8,000.00 -

1.จัดทำโครงการและขอเสนออนุมัติโครงการ 2.ประชุมวางแผนการดำเนินระหว่างเจ้าหน้าที่ในรพ.สต. และ อสม. 3.ประชุมชี้แจงโครงการ และระสานงานกับผู้นำชุมชน 4.ให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 5.ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวาน 6.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานได้รับการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อย 3 ครั้งทุกราย 2.อสม.สามารถติดตาม แนะนำผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงแลโรคเบาหวานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2563 15:28 น.