กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ลดโรคความดันและเบาหวาน
รหัสโครงการ 60-L5207-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักษ์สุขภาพหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโตนด.
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายช่วง ด้วงปาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.965,100.529place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นเพราะพฤติกรรมจาการบริโภคของตัวบุคคลเองซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันซื้ออาหารจากนอกบ้าน ผักซื้อจากตลาดซึ่งอาจมีความไม่ปลอดภัยจากสารเคมี และจากสถิติกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปัจจุบันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย และจากรายงานของสำนักงานนโยบายและสาธารณสุข พบว่าสาเหตุการตายด้วยโรคเบาหวานมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12 และ9พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ขาดการตระหนักในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันได้คงที่ซึ่งสาเหตุสำคัญในการดูแลและป้องกันโรคความดัน และเบาหวาน ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยไม่ให้มีอาการรุนแรงปละป้องในกลุ่มเสี่ยง เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารการกินยาการออกกำลังกาย และด้านอารมณ์มีความสำคัญมากในการป้องกันการเกิดโรคและลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทางชมรมรักษ์สุขภาพ เห็นความสำคัญจึงมีประชุมสมาชิกชาวบ้านหมู่ที่ 1 ให้หันมาสนใจในการปลูกผักในการรับประทานเอง ซึ่งมีทั้งความปลอดภัยจากสารเคมี และได้มีการออกกำลังกายใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ส่งเสริมความรักความสามัคคีในครอบครัว และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตเศรษฐกิจแบบพอเพียงในการป้องกันโรค เน้นในด้านการป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาลและให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชนสามารถใช้ชีวิตอยู่กับโรคและสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีแบบพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งยามากเกินความจำเป็น การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เป็นการใช้ผักพื้นบ้านที่มีในชุมชนซึ่งสรรพคุณมีส่วนในการป้องกันและลดการเกิดโรคความดันและเบาหวาน และปลอดภัยจากสารพิษใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งเสริมความรักความสามัคคีในชุมชนและนำเศษขยะมาเป็นปุ๋ยชีวภาพอีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาทางจิตใจ และมีการแลกเปลี่ยนผักที่มีเหลือในครัวเรือนในการรับประทานกับครัวเรือนอื่นในชุมชนทำให้มีการบริโภคผักที่หลากหลายชนิดและช่วยป้องกันการเกิดโรคความดัน เบาหวานและมีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครอบครัวผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงได้มีพืชผักปลอดสารพิษในการบริโภค และป้องกันการเกิดโรคความดัน เบาหวาน

ครอบครัวผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 80 บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับโรค.

2 เพื่อให้ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ให้เด็กเล็ก ชุมชน และบุคคลทั่วไป ได้ศึกษา

ร้อยละ 80ของชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ให้เด็กเล็ก กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และบุคคลทั่วไปได้ศึกษา

3 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

ผลการตรวจสุขภาพหลังเข้าร่วมโครงการสุขภาพดีขึ้นร้อยละ70.

4 ลดอัตราการการเกิดโรคความดันและเบาหวาน

ผู้ป่วยความดันและเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20

5 มีการดำเนินการจัดตั้งชมรมรักษ์สุขภาพ

มีชมรมรักษ์สุขภาพ 1 ชมรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมชี้แจงโครงการประชาสัมพันธ์
2.แบบฟอร์มใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
3.เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
4.เตรียมสถานที่ในการอบรม พร้อมทั้งเครื่องเสียงสื่อ เอกสาร วัสดุ อุบปกรณ์ในการ ฝึกในการอบรม
5.เตรียมเอกสาร อุบปกรณ์ในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ
ขั้นดำเนินการ
1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ โครงการ
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นรพ.สต.อบต.อสม.รพช. เกษตรอำเภอ
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
- รับสมัครครัวเรือนเข้า ร่วมโครงการ
- จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
2. กิจกรรมการประเมินภาวะสุขภาพ
- ดำเนินการประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าเข้าร่วมโครงการก่อน และหลัง ดำเนินโครงการ ซึ่งประเมินโดยการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว เจาะระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินทางด้านสุขภาพจิต ( 2Q) โดยเจ้าหน้าที่รพสต.และอสม.และมีการเปรียบเทียบผล การตรวจ ก่อน – หลังรายบุคคล
- บันทึกสรุปผลสุขภาพรายบุคคล

3 .กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องผักกับประโยชน์ในการป้องกันโรค
- ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูกและดูแลรักษาและประโยชน์ของผัก การปลูกผักที่ปลอดภัย
- อบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำEMทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ - ผักกับการป้องกันโรคต่างๆๆเช่นโรคความดัน เบาหวาน มะเร็ง
4.กิจกรรมสนับสนุนครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ในการดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ป้องกันโรคความดันเบาหวาน
- สนับสนุนเมล็ดพันธ์ ผักตามคุณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับโรคและกลุ่มเสียงของ แต่ละครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการจำนวน50ครัวเรือนครัวเรือน
- ป้ายชื่อ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ป้าย
กิจกรรมที่2 จัดตั้งชมรมรักษ์สุขภาพ เพื่อติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยในเขตหมู่ที่1 และมีการจัดกิจกรรม ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
  2. ลดอัตราเจ็บป่วยของประชาชน
  3. ประชาชนได้ออกกำลังกาย
  4. ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 14:35 น.