กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5205-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.คลองหรัง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบำรุง พรหมเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดย  มีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ พื้นที่ตำบลคลองหรังเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลังพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกดังนี้ คือ พ.ศ.2557 จำนวน 25 ราย พ.ศ.2558 จำนวน  9 ราย พ.ศ.2559 จำนวน 12 ราย พ.ศ.2560 จำนวน 3 ราย และ พ.ศ.2561 จำนวน 10 คน ปี 2562 จำนวน 14 ราย และปี 2563 จำนวน 6 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2563)
ดังนั้น สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น    เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

50.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่และป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 90

50.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อ มิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2564 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 250 30,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 พ่นหมอกคววันกำจัดยุงลายและแจกทรายอะเบท 50 16,260.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออก 50 4,800.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดซื้อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด 50 4,140.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลคลองหรังฯ 50 4,800.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดทำแผนในการลงพื้นที่พ่นหมอกควัน โรงเรียน วัด สำนักสงฆ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 50 0.00 -
  1. รวบรวมข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. จัดทำโครงการและเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง พิจารณาอนุมัติ
  3. จัดหา จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่เปียะ อสม. โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. แจ้งผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่เปียะและอสม. เพื่อนัดวันเวลาออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและแจกทรายอะเบท
  6. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และเดินขบวนรณรงค์
  7. สรุปผลการดำเนินงานและปัญหา อุปสรรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
  2. ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2563 15:46 น.