กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกีฬาเปตอง
รหัสโครงการ 60-L5207-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเปตองใต้ท้อน
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสงัด ปานเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.965,100.529place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  • ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคม ต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม สุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ แต่ระบบเศรษฐกิจนั้นยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โดยทรัพยากร สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งมีภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ห่างไกลยาเสพตอด และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งที่ผ่านมาทางชุมชนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นกีฬา เปตองเพื่อสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโตนดและหมู่บ้านใกล้เคียง อย่างต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการหมู่บ้านอสม. และประชาชนในพื้นที่ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเล่นกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และสร้างความรักสามัคคีในชุมชน จึงได้จัดตั้งชมรมเปตองใต้ต้นท้อน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยกีฬาเปตอง ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดัน เบาหวาน และส่งเสริมสุขภาพจิต และให้กลุ่มเยาวชนหลีกไกลจากสารเสพติดและการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสร้างแกนนำ ในการออกกำลังกายของชุมชน
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างแกนนำในการออกกำลังกายอย่างเป็นรูปแบบ

มีแกนนำการออกกำลังกายในชุมชน.

2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับวัย

ประชาชนมาออกกำลังกายร้อยละ 70

3 ประชาชนมีสุขภาพกายและจิตดีขึ้น.
  1. ประเมินสุขภาพจิตประชาชน มีสุขภาพจิตดีขึ้นร้อยละ
  2. ประเมินสภาวะทางด้านร่างกาย เปรียบเทียบก่อน – หลัง ดำเนินโครงการ สุขภาพโดยรวมดีขึ้นร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมกรรมการหมู่บ้านอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนชุมชนเพื่อชี้แจงโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการ“การสร้างเสริมสุขภาพด้วยกีฬาเปตอง” และดำเนินการรับสมัครผู้เข้าโครงการ
3. ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งในด้านร่างกายจิตใจ ชั่งน้ำหนักวัดความดันรอบเอว ก่อน- หลังดำเนินโครงการ 4. อบรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย
5. ดำเนินการออกกำลังกายต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๓ วัน/สัปดาห์จัดให้มีผู้นำในการออกกำลังกายด้วยกีฬาเปตองมาอบรมให้ความรู้และสอนหลักการเล่นกีฬาเปตองที่ถูกต้อง และแนะนำในการเล่นเปตองที่ถูกวิธี เหมาะสมกับกลุ่มวัย ใน เวลา 17.30น. -18.30 น. อย่างน้อยสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยมีผู้นำการเล่นเปตองครั้งละ 1 คน
6. บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวันที่มีกิจกรรม
7. ประเมินผลก่อน –หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ความดันละเบาหวาน
  2. ประชาชนในชุมชนเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันและเกิดความรักความสามัคคี
  3. ประชาชนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 14:53 น.