กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสโครงการ 60-L5207-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจง
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธิติมา เทพกูล
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจง ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.965,100.529place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 63 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจงเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง แม่ครัวก็จะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้เด็กในวัยก่อนเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วงทั้งนี้เนื่องจากเด็กบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนจง สังกัดกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม มีเด็กใน ศพด.จำนวน46 คน มาจาก 43 ครัวเรือนครัวเรือนเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโภชนาการที่ดี นำมาสู่สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยจึงจัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษ และศูนย์พัฒนาเด็กจะเป็นผู้กระตุ้นเตือน สร้างความตระหนักให้ครัวเรือนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับกับเด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมีทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีฝึกอาชีพและความรับผิดชอบของเด็ก และดำเนินรอยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก ได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ

เด็กคนได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก/บุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
  1. ผู้ปกครอง ครู บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตระหนักถึงการรับประทานอาหารปลอดสารพิษ
3 เพื่อให้เด็กเล็กมีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนินชีวิตวิถีไทย

เด็กใน ศพด.บ้านควนจงร้อยละ 80 ทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนินชีวิตวิถีไทย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ให้ความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ปลูกผักพืชสวนครัว/พืชสมุนไพร
    2.1 สำรวจแหล่งที่จะปลูก
    2.2 เลือกชนิดผักเช่นผักกาดขาว, ผักคะน้า, ผักบุ้ง, มะเขือ, พริกชี้ฟ้า, ผักกวางตุ้ง,โหระพา เป็นต้น 2.3 ปรับพื้นที่ และดำเนินการปลูกผักสวนครัว โดยไม่ใช้สารเคมี
  3. ให้ครูจัดแบ่งเวรให้กับผู้ปกครองในการช่วยกันดูแล ผักในแปลงปลูก
  4. ครูผู้ดูแลเด็ก จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคผักสดในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของผักและรับประทานผักเพิ่มขึ้น
  5. นำพืชผักที่ได้จากโครงการไปประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กใน ศพด.บ้านควนจง
  6. นำผักที่เหลือกินจากโครงการ โดยจัดให้เด็กขาย นำเงินมาเป็นทุนในการซื้อเมล็ดพันธ์ปลูกต่อไป
  7. มีการประเมินความพึงพอใจในการทำกิจกรรมจากกลุ่มผู้ปกครอง และประเมินผลเด็กด้วยการให้เด็กสื่อด้วยภาพเขียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ และผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับครัวเรือน
  2. เด็กเล็กผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
  3. เด็กเล็กผู้ปกครองมีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนิน ชีวิตวิถีไทย
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กเล็กและผู้ปกครองในการนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 14:54 น.