กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5279-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกีรติฯ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2564
งบประมาณ 51,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาวา ชนะภัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

๑๐๐๐ วันแรกของชีวิตหมายถึงเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ ๒ ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งกระบวนการพัฒนาร่างกายและทางสมองส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยภาวะเตี้ยทุพโภชนาการพัฒนาการไม่สมวัยเนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้าเซลล์สมองโดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุดการได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับกระบวนการกินนอนกอดเล่นเล่าคุณภาพจะทำให้ทารกที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงสุดจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมศักยภาพของเด็กการส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตมีสุขภาพที่ดีรวมถึงมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุขนั้นครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้และเป็นแบบอย่างให้กับเด็กซึ่งถ้าครอบครัวสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพครอบครัวที่มีความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กมีการให้ความรักความอบอุ่นอย่างพอเพียงจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมการปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดีและจากผลการทบทวนถึงรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กสังคมไทยพบว่าการอบรมเลี้ยงดูเน้นในการให้ความรักความอบอุ่นยอมรับความคิดเห็นของเด็กใช้เหตุผลในการอบรมสั่งสอนความสม่ำเสมอในบทบาทของการให้รางวัลและการลงโทษจะมีผลเชิงบวกต่อพัฒนาการเด็กสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบผสมมีโอกาสที่จะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเป็น ๑.๔ เท่าของเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยที่เน้นการให้ความรักความอบอุ่นการมีเหตุผลรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กแสดงว่าปัจจัยด้านพื้นฐานของครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตภาวะสุขภาพและพัฒนาการของเด็กโดยผ่านกระบวนการอบรมเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดูเด็กการพัฒนาความรู้ทักษะในการเลี้ยงดูเด็กให้กับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจึงมีความสำคัญยิ่งโรงเรียนพ่อแม่เพื่อลูกรัก“ สุขภาพดีสมองดีอารมณ์ดีมีความสุข” จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพตามช่วงวัยของเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมผลการดำเนินงานคุณภาพด้านแม่และเด็กของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติตำบลพะตงจาก HDC ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ พบประเด็นเกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ ๑. การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ร้อยละ ๘๔ ๒. การฝากครรภ์ ๕ ครั้ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุม / ปรึกษาเจ้าที่ในหน่วยงานเพื่อกำหนดแนวทาง / กิจกรรม ๒. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัว (child and family team) ๔. ประชุมชี้แจงโครงการและการดำเนินงานโครงการมหัศจรรย์ ๑,000 วันแรกของชีวิต ๕. ประชาสัมพันธ์และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในหมู่บ้านและเขตเทศบาลตำบลพะตง ๖. ดำเนินโครงการตามกิจกรรม ๖.๑ ค้นหาหญิงที่อยู่กินกับสามีที่คาดว่าจะตั้งครรภ์เพื่อให้ได้รับยาก่อนตั้งครรภ์ ๖.๒ รณรงค์ / ค้นหาให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ๖.๓ จัดซื้อและจ่ายนมจืดแก่หญิงตั้งครรภ์รายใหญ่ทุกรายจำนวน ๙๐ กล่องต่อคน ๒.๔ จัดซื้อและจ่ายไข่แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหญ่ทุกรายจำนวน ๔๐ ฟองต่อคน ๖.๕ จัดประชุม CFT ในพื้นที่ตำบลพะตง ๒.๖ ทบทวนแนวทางการปฏิบัติการดูแลงานอนามัยแม่และเด็ก ๖.๗ จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามีและญาติผู้ดูแล ๖.๘ ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด-อายุ ๒ ปี ๖.๔ ติดตามคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 0 เดือน – ๒ ปี ๖.๑๐. ติดตามประเมินภาวะสุขภาพมารดาและทารกแรกเกิด – ๒ ปี ๖.๑๑จัดกิกรรมการอ่านหนังสือให้เด็กเล็กฟังโดยผู้สูงอายุในชุมชน ๗. ติดตามวิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินการ ๘. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งและร่วมกันดูแลหญิงตั้งครรภ์มารดาและทารก ๒. เครือข่ายสุขภาพตำบลพะตงมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการมหัศจรรย์ต ๑๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิตส่งผลให้ลูกเกิตรอดแม่ปลอดภัยเด็กสูงดีสมส่วนและสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2563 08:59 น.