กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3356-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 20 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวรรณชัย นิยมสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม
ละติจูด-ลองจิจูด 7.585,100.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 121 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความพิการแต่กำเนิดองค์การอนามัยโลกทำการสำรวจความพิการแต่กำเนิดในทารกทั่วโลกพบว่า ทารกมีความพิการแต่กำเนิด 3-5% หรือ ปีละประมาณ 8 ล้านคน จากทารกที่คลอดประมาณ 130 ล้านคนต่อปี โดยความพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ความพิการทางด้านโครงสร้างของร่างกาย เช่น คลอดออกมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาขาด และ 2. ความพิการของการทำงานในหน้าที่และภาวะร่างกาย เช่น มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือกลุ่มโรคโลหิตจางซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัวของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด ภาระของครอบครัวที่แบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดา มารดา ที่มีทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด จนถึงปัญหาในระดับประเทศโดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้ความพิการแต่กำเนิดนั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะการเสริมวิตามินโฟเลต หรือ โฟลิกแอซิด (Folic Acid) ให้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์ ประโยชน์ของโฟลิกแอซิด หากมารดาที่มีโฟเลตต่ำกว่ามาตรฐาน สารดีเอ็นเอ จะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ของทารกได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีความพิการ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนที่มีโอกาสตั้งครรภ์ ควรกินวิตามินโฟเลต หรือ โฟลิกแอซิด ทุกวัน วันละ 1 เม็ด ที่สำคัญจะต้องรับประทานในช่วงก่อน 6 สัปดาห์ หรือ 1-2 เดือนก่อนตั้งครรภ์ จนถึงตั้งครรภ์ครบ 3 เดือน แต่หากยังไม่ตั้งครรภ์ก็ให้กินต่อไปเรื่อยๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันความพิการแต่กำเนิดจึงได้จัดทำโครงการป้องกันความพิการแต่กำเนิดขึ้น ตามนโยบายโครงการส่งเสริมสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติด้วยวิตามินแสนวิเศษ เพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพี่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด

อสม. 81 คนได้เรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด

2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด

หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด

3 เพื่อให้อาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-34 ปี ที่พร้อมจะตั้งครรภ์ได้กิน โฟลิกเอซิด ทุกคน

อาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-34 ปีก่อนการตั้งครรภ์ ได้กินโฟลิกแอซิดทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดตั้งคณะทำงาน
  2. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
  3. จัดทำแผนงานโครงการ
  4. นำเสนอโครงการเพื่อขอรับพิจารณาอนุมัติ
  5. อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธุ์เรื่องประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด เจาะหาความเข้มข้นของเลือดอาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและหลังกินโฟลิกแอซิด
  6. ติดตามประเมินผล
  7. สรุปผลการปฏิบัติงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นในการกินโฟลิกแอซิด
  3. อาสาสมัครหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 20-34 ปีก่อนการตั้งครรภ์ ได้กินโฟลิกแอซิดทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 15:40 น.