กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.นาโยงเหนือ
รหัสโครงการ 64-50117-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กอายุกลุ่ม ๓ ปี ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กก่อนวัยเรียน(กองทันตสาธารณสุข ๒๕๔๒)ยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองมากขึ้นตลอดจนพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรและปัจจัยในการเลี้ยงดูบุตร ช่องปากถือว่าเป็นประตูแห่งสุขภาพ ข้อมูลระบาดวิทยาของประเทศไทยในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความชุกของโรคฟันผุของเด็กไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเขตชนบท รายงานการสำรวจของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๕๔ พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี ซึ่งเป็นอายุที่เพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบทั้งปาก มีโรคฟันผุไปแล้วถึงร้อยละ ๖๕.๗ เป้าหมายทันตสุขภาพประเทศไทยในปี๒๕๖๓ ต้องการให้เด็กกลุ่มอายุ ๓ ปี เป็นโรคฟันผุไม่เกินร้อยละ ๕๒ (สำนักทันตสาธารณสุข,๒๕๖๐) เมื่อจำแนกตามภาคพบว่าภาคใต้พบอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ ๓ ปีดังนี้ ร้อยละ ๖๔ ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ และร้อยละ๖๑ ในปี ๒๕๕๕ ความชุกของโรคในภาพรวมค่อนข้างคงที่ แต่ในเขตชนบทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ๓ ปีของจังหวัดตรัง โดยข้อมูลจากการสำรวจสภาวะช่องปากตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐ พบว่าเด็กมีฟันผุคิดเป็นร้อยละ ๖๗.๖ และ๕๓.๔ ตามลำดับซึ่งใกล้เคียงกับการเกิดโรคฟันผุของเด็ก ๓ ปีในเขต อำเภอนาโยง คือเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนาโยงเหนือมีฟันผุคิดเป็นร้อยละ ๖๓.๓ โรคฟันผุในเด็กเล็กเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการป้องกันกับฟันผุที่มีประสิทธิภาพ แต่จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้สภาพการเลี้ยงดูบุตรการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องปรับกับภาวะเศรษฐกิจทำให้มีเวลาในการเลี้ยงดูบุตรน้อยลงต้องอาศัยผู้อื่นในการเลี้ยงดูบุตร ฉะนั้นเมื่อเด็กเข้ามาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสูงมากในการพัฒนาและปลูกฝังนิสัยที่ถูกต้องให้แก่เด็กร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กรวมทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องาปกและป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ในการนี้งานทันตกรรมกลุ่มงานบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลนาโยง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอนาโยง จังหวัดตรังขึ้นเพื่อลดปัญหาโรคฟันผุและควบคุมการลุกลามของโรคส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสภาวะทันตุขภาพของบุตรหลานและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กใน ศพด.ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กในศพด.มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ระยะเตรียมการ -ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง -เก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะช่องปากของเด็กและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ -เขียนโครงการ/แผนการดำเนินงาน -ขออนุมัติโครงการ ๒.ระยะเวลาดำเนินการ
กิจกรรมที่๑ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและประเมินระดับความรู้ภายหลังการประชุม -บรรยายประกอบการแสดงการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็ก (Hand-on) กิจกรรมที่๒ กิจกรรมตรวจประเมินคัดกรองสุขภาพช่องปาก เพื่อจัดบริการทาฟลูออไรด์วานิช อุดฟันเพื่อป้อบงกันฟันผุ(SMART Technique)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มเสี่ยง -ตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปาก ส่งต่อเพื่อรับบริการในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อฟันผุ -ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปากเด็ก กิจกรรมที่๓ กิจกรรมส่งเสริมความรู้เพื่อให้เด็กและครูผู้ดูและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร -นำเสนอผลการสำรวจสุขภาพช่องปากและแนวทางแก้ไขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามเกณฑ์ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กคุณภาพ กิจกรรมที๔ กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง การจัดกิจกรรมแปรงฟันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -ให้ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก -จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่เหมาะสม
กิจกรรมที่๕ กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน -เยี่ยมบ้านเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือเห็นความสำคัญมีความตระหนักในปัญหาโรคฟันผุและผลกระทบของโรคฟันผุต่อสุขภาพของเด็กสามารถดูแลเด็กไม่ให้เกิดปัญหาทางทันตสุขภาพและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็ก สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่มีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 09:58 น.