กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564 ”
ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
นางสุณี ศรียาน




ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 64-L5287-1-13 เลขที่ข้อตกลง 09/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าแพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 64-L5287-1-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 31,632.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าแพ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า โรควิถ๊ชีวิต 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งเป็นปัญาสุขภาพระดับประเทศและระดับดลก ซึ่ง นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็มมากเกินไปและทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ยังสร้างภาวะค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงจะสมารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซิ้อนได้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครับครัว และชุมชน ทางโรงพยาบาลท่าแพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุใชน ขึ้น เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการกาาตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและพัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู่ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป จากการรายงาน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 - เดือนเมษายน 2563 ได้มีการออกรณรงคืคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 3,197 คน คิดเป็น ร้อยละ 90.87 และโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,459 คน ผลงาน 2,213 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดของงานโรคไม่ติดต่อ ร้อยละ 90 ดังนั้นกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพโดยเพิ่มความรู้/ทักษะ และอุปกรณ์ ในการดำเนินงานสาธารณสุขสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าแพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันดลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ขึ้น ปีงบประมาณ2564 เพื่อให้บุคคลากรเหล่านี้มีความรู้/ความสามารถในการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายและชุมชนมีอุปกรณ์พร้อมที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชน ให้มีสุขภาพที่ดีของประชาชนได้ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  2. 2. เพื่อให้ อสม./แกนนำชุมชน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  3. 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  4. 4. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  5. 5. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมรณรงค์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3,197
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,197
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำอสม./แกนนำชุมชน มีศักยภาพสามารถตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เบื่องต้นได้และผ่านการอบรมมากกว่าร้อยละ 80
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการครวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 90
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อรับการรักษาทุกราย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินโครงการพบว่า
1. กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้และออกรณรงค์ออกตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน
  จากการจัดโครงการในครั้งนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ และให้ความรู้ในเรื่องการเกิดและพยาธิสภาพของโรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามหลัก 3 อ. 2ส. ให้แก่ อสม. ซึ่งจะทำให้ อสม.ได้ดูแลตนเองและคนในเขครับผิดชอบได้ อย่างถูกวิธี ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สามารถลดภาวะแทรกซ้อน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อนำไปใช้ในการดูแลป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคและการกลับมาเป็นซ้ำ
  โดยพิจารณาจากแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม ซึ่งก่อนการอบรมคะแนนคิดเป็นร้อยละ78.75 และหลังอบรมมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 94.50 ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลักจากอบรมแล้วผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 15.75 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
ผลที่เกิดข้นภายหลังโครงการสิ้นสุดลง
  ทำให้ อสม.มีความรู้ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพของประชาชน ในกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปในการทำงานบูรณาการร่วมกันทุกเครือข่ายด้านสุขภาพเป็นโครงการที่ดำเนินการ โดยมุ้งเน้นการค้นหาเพื่อไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ และมีการส่งตัวถูกต้องเพื่อการรักษาและได้รับการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง และในกลุ่มเสี่ยงที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ห่างไกลจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อย่างสม่ำเสมอ ทั้งสนับสนุนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้เร็วขึ้นโดยการทำงานแบบเชิงรุก โดยทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ส่งผลให้สุขภาวะคุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถลดภาวะความพิการลงได้ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของสังคม และเห็นสมควรให้มรการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  ปัญหาอุปสรรคในการทำงานขององค์กร
  - ไมีมี เนื่องจากได้รับความร่วมมือที่ดีมาก ระหว่างองค์กรทำให้การทำงานราบรื่น
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค
  - สถานที่จัดอบรมคับแคบ
  - ความพร้อมของเครื่องเสียงยังไม่ไเ้มาตราฐาน
  - อสม.บางท่านติดภาระกิจไม่สามารถเข่าร่วมกิจกรรมโครงการได้ ล   - สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ชี้แนะประเด็นปัญหาสุขภาพของชุมชน กระทั่งเพิ่มเงินอุดหนุนในการดำเนินโครงการในโอกาศต่อไป เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันขององค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แ่ก่ประชาชนจากโครงการครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของอาสาสมัครสาธาณณสุข ที่จะนำความรู้ ความสามารถในกิจกรรมครั้งนี้ไปถ่ายทอดให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจของดรคต่างๆ จะทำให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ อาทิ เช่น ความรู้ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทัศนะคติในการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาคงสำเร็จไม่ได้ หากขาดกำลังคนที่มีความเข้มแข็ง หน่วยงานที่มีความเข้าใจ ที่ให้ความร่วมมือตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนกระทั่งเสร็จสิ้นภารกิจ จึงขอขอบพระคุณทุกท่านที่เสี่ยสละแรงกาย แรงใจ ในการอุทิศตนเพื่อสังคมโดยตลอด จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
90.00 90.00

 

2 2. เพื่อให้ อสม./แกนนำชุมชน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : แกนนำ อสม./แกนนำชุมชน มีศักยภาพสามารถตรวจ คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เบื่องต้นและผ่านการอบรมร้อยละ 80
80.00 94.50

 

3 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อรับการรักษาทุกราย
0.00

 

4 4. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

5 5. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6394
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3,197
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,197
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (2) 2. เพื่อให้ อสม./แกนนำชุมชน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (3) 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (4) 4. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (5) 5. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมรณรงค์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาเครือข่ายการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2564 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 64-L5287-1-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุณี ศรียาน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด