กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลีอายร์
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลีอายร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านบากงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปี 2560 ในปีงบประมาณ 2560โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตาลีอายร์ เป็นเงิน 9,700 บาท โดยมีรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมดังนี้ ส่วนที่ 1 : รายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ลงรายละเอียด) 1.หลักการและเหตุผล ภาวะโภชนาการเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และเป็นต้นทุนสำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในพื้นที่ชายแดนที่มีปัญหาความไม่สงบ มัก พบเด็กขาดสารอาหาร ถึงร้อยละ 35 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้(พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต) โภชนาการมีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างของสมอง การสร้างฉนวนหุ้มเส้นประสาท ระดับและการทำงานของสารสื่อประสาท และจำนวนปลายประสาทสัมผัส ภาวะขาดสารอาหาร จึงมีผลเสียต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา นอกจากนั้นภาวะขาดสารอาหารจะทำให้เด็กเคลื่อนไหวได้น้อยลง เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาระดับสติปัญญาได้เต็มศักยภาพของตน ช่วงวัยสำคัญที่สุดสำหรับเด็กคือช่วงนับจากในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2-3 ปีแรก เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงจนเตี้ยแคระแกร็นในช่วง 2 ขวบแรกจะส่งผลต่อระดับไอคิวเมื่อโตขึ้น และส่งผลต่อเนื่องต่อระดับไอคิวเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ปัญหาที่พบมากคือ การขาดสารไอโอดีน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการพร่องทางสติปัญญาที่ป้องกันได้ การขาดธาตุไอโอดีนนานๆ ทำให้ระดับไอคิวโดยเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ขาดถึง 13.5 จุด การขาดธาตุเหล็ก ทำให้เด็กเติบโตช้าภูมิต้านทานพร่อง โลหิตจาง อ่อนเพลีย เฉื่อยชา มีสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้และสติปัญญาต่ำลง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างถ้วนหน้า (Universal Salt Iodization) โรคอ้วนนับเป็นอีกปัญหาที่พบมากขึ้นในเด็กไทยในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา คือทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจ ปัญหาโภชนาการขาดและเกินที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและศักยภาพด้านสติปัญญาของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและโรงเรียนร่วมกับครอบครัวจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กอย่างจริงจัง โดยสนับสนุนศูนย์เด็กเล็กในการเลี้ยงดูเด็กไทยให้เติบใหญ่แข็งแรง มีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ เด็กที่เป็นอนาคตของชาติจึงสมควรได้รับอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องนับแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาต่อเนื่องจนเติบใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงโอกาสทอง 3 ปีแรก เพื่อป้องกันการสูญเสียศักยภาพตามต้นทุนทางพันธุกรรม รวมทั้งดูแลให้มีสุขภาวะที่ดีพร้อมรับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการถือเป็น 1 ใน 6 เรื่องปัญหาสำคัญ ที่ควรได้รับการพิจารณารับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการคัดเลือกปัญหาและแนวทางการแก้ไขนั้นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและตัดสินใจจากทุกภาคส่วนม ปัจจุบันศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านบากงตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัด ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กได้ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักเทียบอายุ ส่วนสูงเทียบอายุ และน้ำหนักเทียบส่วนสูงพบว่าเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 10คน จากเด็กทั้งหมด 55คน คิดเป็นร้อยละ18ส่วนสูงค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 16 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบากงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กดังกล่าวซึ่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยพร้อมที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง

พ่อแม่ผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง

2 เพื่อค้นหาเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการให้ได้รับการแก้ไขปัญหาทันท่วงที

สามารถค้นหาเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการให้ได้รับการแก้ไขปัญหาทันท่วงที

3 เพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพัฒนาการเด็ก

สามารถลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพัฒนาการเด็ก

4 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในเด็กก่อนวัยเรียน

สามารถเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในเด็กก่อนวัยเรียนได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติตนและดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกวิธี 65 7,700.00 7,700.00
29 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ 65 2,000.00 2,000.00
รวม 130 9,700.00 2 9,700.00
  1. ค้นหาปัญหาจากรายงานภาวะโภชนาการเด็กและสอบถามข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
  2. ประชุมผู้ปกครองร่วมกับคระกรรมการศูนย์ฯเพื่อร่วมกำหนดรายละเอียดกิจกรรม
  3. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช. 4.จัดทำคำสั่งและประชุมคณะทำงานเพื่อมอบหมายงาน
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

- จัดอบรม - จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กผู้ที่รับผิดชอบที่เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติตนและดูแลภาวะโภชนาการเด็กได้อย่างถูกวิธี
  2. เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้มีรูปร่างดีและสมส่วน
  3. เด็กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  4. เด็กทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์อายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2560 09:39 น.