กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 ม.ค. 2564 16 มิ.ย. 2564

 

1.อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2.ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็ก

 

1.ผู้ปกครองรายใหม่ที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และโทษ ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 24.30 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 58.14 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 82.44
2.ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปากอาหารที่มีประโยชน์และโทษ ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป้นร้อยละ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.22 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 67.46 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 89.68
3.ผู้ปกครองรายใหม่ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 44.27 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 81.69 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.42
4.ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 65.08 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 89.68 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.60
5.จากการทำแบบแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครองรายใหม่และผู้ดูแลเด็กทั้งหมดจำนวน 152 คน พบว่า ผุ้เข้าอบรมเห็นด้วยมากที่สุดคือการรักษาฟันผุหยุดยั้งด้วยการใช้ SDF ได้ผลดีในเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าอบรมไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ยอมรับได้สีของฟันผุภายหลังทา SDF คิดเป็นร้อยละ 4.61

 

ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน 1 ก.พ. 2564 1 ก.พ. 2564

 

1.ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน
2.คัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีฟันกรามน้ำนมผุเพื่อทำการอุด ART
3.ทาง รพ.ประสานงานครูเพื่อลงไปดำเนินการอุดฟันให้นักเรียน
4.เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ออกหน่วย
5.ครูผู้ดูแลเด็กนัดผู้ปกครองเด็กเพื่อนำเด็กมาตามรายชื่อมาอุดฟันในวันเวลาที่นัดหมาย
6.ให้บริการอุดฟันกรมน้ำนมด้วย SMART technipue และเคลือบฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็กเล็กใน ศพด.

 

ได้รับการบูรณฟันด้วย SMART technipue 101/272 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 86.32 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.27)

 

ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ 1 มี.ค. 2564 1 มี.ค. 2564

 

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 3-5 ปี) ในแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 5 ศูนย์ ในสังกัด อบต.กำแพง 2.ดำเนินการตรวจฟันและสุขภาพช่องปากของเด้กนักเรียน 3.วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART 4.ดำเนินการบูรณฟันด้วย  SMART technipue ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

 

ได้รับการบูรณฟันด้วย  SMART technipue 101/272 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 86.32 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.27)

 

ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว 1 ส.ค. 2564 1 ส.ค. 2564

 

1.ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technipue หลังให้บริการ 1 เดือน
2.ทันตบุคลากรจะเข้าไปสุ่มตรวจร้อยละ 10 การยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว

 

ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 29.70 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันในศพด.ปรากฏดังนี้
  - สุ่มตรวจทั้งหมด 72 ซี่
  - การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 59 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 81.94
  - หลุดบางส่วน 7 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 9.72
  - หลุดทั้งหมด 6 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 8.33
ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลโรงเรียนต่างๆ ปรากฏดังนี้
  - สุ่มตรวจทั้งหมด 28 ซี่
  - การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 25 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 89.29
  - หลุดบางส่วน 2ซี่ คิดเป็นร้อยละ 7.14
  - หลุดทั้งหมด 1 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 3.57

 

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 31 ส.ค. 2564 31 ส.ค. 2564

 

1.จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 2.จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

 

  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว
  3. เด็กอายุ 3-5 ปีได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น