กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ(หลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน 6 วิชา) จำนวน 3 วัน 6 วิชาๆละ 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม.หมอประจำบ้าน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม อสม.หมอประจำบ้าน 6 วิชา ซึ่งประกอบด้วย (1) วิชาอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.)บทบาท อสม.หมอประจำบ้านและกฎหมาย อสม. (2) วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ (3) วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ/การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (4) วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพรและการใช้กัญชาทางการแพทย์/การใช้ยาสามัญประจำบ้าน (5) วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ (6) วิชาการเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีแบบทดสอบจำนวน 20 ข้อ พบว่า ก่อนการอบรม อสม.มีความรู้ค่อนข้างดี คิดเป็นร้อยละ 75 ส่วนหลังอบรม อสม.มีความรู้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 95

กิจกรรมฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรมสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดย อสม.แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ต่อพี่เลี้ยง 1 คน มีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยแบ่งประเภทกลุ่มเป้าหมายการติดตามเยี่ยมดูแล ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง(LTC) ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) และภาวะพึ่งพิงอื่นๆ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้กับ อสค.เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยในบ้านได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งรายงานผลการติดตามเยี่ยม/ดูแล ตามแบบฟอร์มที่กำหนดและสามารถประเมินความผิดปกติและติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงเพื่อพิจารณาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

กิจกรรม อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมปฏิบัติงานในพื้นที่
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรมและแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ เมื่อ อสม.ได้รับการอบรมตามหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน และได้ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยมีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยง อสม.นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานจริงในพื้นที่รับผิดชอบให้การดูแลชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี ประเมินภาวะโภชนาการ คัดกรองประเมินความดันโลหิต เบาหวาน ดูแลให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองประเมินสุขภาพจิต ติดตามดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และรายงานผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชั่น Smart อสม./อสม.ออนไลน์ เดือนละ 1 ครั้ง (ทุกวันที่ 20 ของเดือน)

กิจกรรมติดตาม/ประเมินผล และถอดบทเรียนการดำเนินงาน
  ทีมพี่เลี้ยงติดตาม/ประเมินผล หลักการฝึกปฏิบัติงาน อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการและการฝึกปฏิบัติไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ทบทวนกระบวนการดำเนินงานของ อสม. พบว่า อสม.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจตัวเองต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่มากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม. หมอประจำบ้าน 2.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
แกนนำ อสม. 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น  อสม.หมอประจำบ้าน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ (2) ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง (3) ปฏิบัติงานในพื้นที่ (4) ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. (5) ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล (6) รายงานผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh