กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง

1.นางสาวจิรัฐติกาล เจ๊ะสา ผู้ประสานงาน คนที่ 1
2.นางจุรีพร มานะกล้า ผู้ประสานงาน คนที่ 2
3.นางมีนา อุศมา
4.นางสาวรสนา หนูวงศ์
5.นายประกาศิต เพชรกาฬ

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีเครือข่ายในการดำเนินงานที่สำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน ผู้มีจิตอาสา เสียสละ และเป็นจุดเชื่อมสำคัญที่จะนำนโยบายต่างๆสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขในการพัฒนายกระดับความรู้ อสม. ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุขในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของ อสม. เพื่อลดโรคและปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ลดความแออัด ลดความเลื่อมล้ำ ไร้รอยต่อ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาโรงพยาบาล

อสม. ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ร้อยละ ๘๐ อสม. ยังขาดองค์ความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพ และขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ อสม. ให้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพื่อยกระดับอสม. เป็นอสม. หมอประจำบ้าน ขึ้นเพื่อให้ อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ทุกครอบครัว ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มภาวะพึ่งพิง และกลุ่มครอบครัวทั่วไปในละแวกบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ลดโรคเรื้อรัง และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเหตุ:อสม.หมอประจำบ้าน คือ ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้านและทำหน้าที่เป็นผู้นำจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับ อสม.อสค.ทีมหมอครอบครัว เครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน

1.ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม. หมอประจำบ้าน

2.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ อสม. 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 หลักสูตรในการอบรม

  1. วิชาอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) บทบาท อสม.หมอประจำบ้านและกฎหมาย อสม.

  2. วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่

  3. วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ /การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

  4. วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพรและการใช้กัญชาทางการแพทย์/การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

  5. วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ

  6. วิชาการเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

1.2มีระบบทีมพี่เลี้ยงในการดูแลฝึกปฏิบัติ ให้คำแนะนำแต่ละด้าน

เป้าหมาย

  • อสม.แกนนำในเขต อบต.กำแพง จำนวน 50 คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำเอกสารคู่มือ อสม.หมอประจำบ้าน จำนวน 50 ชุดๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 6,000 บาท ได้แก่

    • กระเป๋า จำนวน ๕๐ ใบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ปากกา สมุด จำนวน 50 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    • กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เป็นเงิน 500 บาท

    • ประกาศนียบัตร จำนวน 50 แผ่นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ชุดสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 10 ชุดๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ65 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 11,700 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 60 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท

  • ค่ายานพาหนะในการเดินทางผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 15,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 วัน ๆละ 6 ชม.รวม 18 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท

  • ค่าตอบแทนพี่เลี้ยง จำนวน 11 คนๆละ 200 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 6,600 บาท

รวมเป็นเงิน....62,100.....บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม. หมอประจำบ้าน
  • ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62100.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • อสม.ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 วันๆละ 25 คน โดยแบ่งกลุ่มๆ ละ ๕ คน ต่อพี่เลี้ยง 1 คน ฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยบริการ/พื้นที่ โดยมีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ มีการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

    2.1 การเป็นวิทยากร อสค. / พี่เลี้ยง อสค. ที่ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

    2.2 การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในพื้นที่

    2.3 การใช้ภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์

    2.4 การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม (Telemedicine) และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ

    2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงาน

    2.6 การจัดระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

  • อสม.แกนนำในเขต อบต.กำแพง จำนวน ๕๐ คน

งบประมาณ

วันที่ 1

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม.ฝึกปฏิบัติ และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม.ฝึกปฏิบัติ และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับ อสม.ฝึกปฏิบัติ จำนวน 25 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าตอบแทนพี่เลี้ยง จำนวน 5 คนๆละ 2๐๐ บาท เป็นเงิน 1,0๐๐ บาท

วันที่ 2

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม.ฝึกปฏิบัติ และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม. ฝึกปฏิบัติ และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับ อสม.ฝึกปฏิบัติ จำนวน 25 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าตอบแทนพี่เลี้ยง จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน....13,900.....บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13900.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติงานในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติงานในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ปฏิบัติงานในพื้นที่ดังนี้

3.1 ปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี

3.2 ปฏิบัติการคัดกรองประเมินสุขภาพจิต

3.3 ปฏิบัติการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง

3.4 ปฏิบัติการประเมิน/เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

3.5 ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานในชุมชน

3.6 ปฏิบัติการใช้ยาสามัญประจำบ้าน/ยาสมุนไพร ที่เหมาะสม

3.7 ปฏิบัติการปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือเบื้องต้น

3.8 ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับแก่ อสม.ในพื้นที่

3.9 รายงานผลการปฏิบัติงานเดือนละ 1 ครั้ง ผ่าน Application “Smart อสม./อสม.ออนไลน์

เป้าหมาย

  • อสม.แกนนำในเขต อบต.กำแพง จำนวน ๕๐ คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • พี่เลี้ยง/ทีมสหวิชาชีพ ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. หลังจากฝึกปฏิบัติงาน 1 เดือน

เป้าหมาย

  • อสม.ในเขต อบต.กำแพงจำนวน ๕๐ คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท

รวมเป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. หลังจากฝึกปฏิบัติงาน 1 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล 3 เดือน

เป้าหมาย - อสม.ในเขต อบต.กำแพงจำนวน ๕๐ คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท

รวมเป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ยกระดับ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน
2. อสม.หมอประจำบ้านมีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถนำเทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ในชุมชนผ่านระบบออนไลน์ และเป็นแกนนำด้านการดูแลสุขภาพในชุมชน
3. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>