กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กแรกเกิด - 5 ปี ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 2564 - L8010 – 1 - 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 57,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 57,025.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 57,025.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการเลี้ยงดูเด็กให้เติบใหญ่เพื่อเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และเป็นอนาคตที่ดีของประเทศ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องให้ความสำคัญเรื่องการเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่เรื่องสุขภาพอนามัย การอุปโภค บริโภค และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมากเนื่องจากส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังชนิดต่างๆและภาพรวมแนวโน้มสงสัยพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาเนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยที่ บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง การอุปโภค บริโภค ดังนั้นจึงไม่คำนึงถึงผลกระทบ หรือความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ ของเด็กในอนาคต ซึ่งศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและ การรักษาพยาบาลเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๖๖๔ ) ในส่วนที่ ๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ด้านพัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีการพัฒนาทักษะสมองและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม

จากการสำรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กพัฒนาการไม่สมวัยมาจากเด็กที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น เจ็บป่วยบ่อย น้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ ๘๐ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ ๗๒.๘๐การเลี้ยงดูแบบสมัยใหม่โดยใช้โทรศัพท์ในการเลี้ยงดูลูก อาจส่งผลระยะยาวทำให้เกิดสมาธิสั้น อารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง และจากการตรวจสุขภาพและคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดีศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ ยังพบปัญหาพัฒนาการสงสัยล่าช้าน้อยกว่า ร้อยละ๘๕ คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๐ จากเด็ก ๐ – ๕ ปี ทั้งหมด ๗๗๒ ราย

ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง จึงเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง๔ ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคมและสติปัญญา โดยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้บิดา-มารดา และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง ทั้ง ๔ ด้าน และมีสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว เพื่อให้เด็กเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง มีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่เหมาะสมตามวัย

บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรที่เหมาะสมตามวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยทั้ง ๔ ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย ทั้ง ๔ ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 57,025.00 5 57,025.00
1 - 31 ม.ค. 64 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย 0 0.00 0.00
2 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด-5 ปี 110 28,325.00 28,325.00
3 มี.ค. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมพลังสมอง 110 26,650.00 26,650.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ๒๐ คน เพื่อสร้างครอบครัวต้นแบบ 20 1,050.00 1,050.00
1 - 31 ส.ค. 64 สรุปผลโครงการและการดำเนินกิจกรรม 0 1,000.00 1,000.00

๑.  ขั้นเตรียมการ

      ๑. เขียนโครงการ เสนอแผนงานโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

      ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      ๓. จัดเตรียมบุคลากรและสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องใช้ในการดำเนินงาน

      ๔. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย


๒.  ขั้นปฏิบัติการ / ขั้นดำเนินงาน


กิจกรรมที่ ๑ สำรวจเด็กแรกเกิด – 5 ปี ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

  ๑.๑ สำรวจเด็กแรกเกิด – 5 ปี ในพื้นที่ เพิ่มเติม โดยอาสาสมัครสาธารณสุข

  ๑.๒ ประกาศรับสมัครบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี จำนวน ๑๐๐ ราย เพื่อนำร่องการเข้าร่วมโครงการ/ผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการ


กิจกรรมที่ ๒ จัดอบรมให้ความรู้กับบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี / ผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการ
  ๒.๑ จัดทำแบบประเมินความรู้ก่อน – หลัง การอบรม

  ๒.๒ จัดอบรมให้ความรู้

      ๒.๒.๑ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย

      ๒.๒.๒ ให้ความรู้เรื่องการได้รับ วัคซีนครบตามเกณฑ์ / ฝึกปฏิบัติการดูแลหลังรับวัคซีน

      ๒.๒.๓ ให้ความรู้ / ฝึกปฏิบัติเรื่องทันตสุขภาพ

      ๒.๒.๔ ให้ความรู้เรื่อง การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ / ฝึกการจุดกราฟโภชนาการ

      ๒.๒.๕ ให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติเรื่อง พัฒนาการตามกลุ่มวัย

      ๒.๒.๖ ให้ความรู้เรื่องการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมกลุ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการระดมพลังสมอง

    ๓.๑ กิจกรรมวาดภาพ ลูกของฉัน

    ๓.๒ กิจกรรมที่บิดา-มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องปฏิบัติเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการสมวัย

    ๓.๓ กิจกรรมค้นหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย


กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการที่สนใจ ๒๐ คน เพื่อสร้างครอบครัวต้นแบบ

    ๔.๑ ติดตามประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ตามแบบประเมิน DSPM ๕ ด้าน ตามกลุ่มวัย ๓ ครั้ง เดือนละ ๑ ครั้ง

    ๔.๒ มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างครอบครัวต้นแบบ

    ๔.๓ มอบเกียรติบัตรพร้อมใส่กรอบให้กับ ๓ ลำดับที่ ของครอบครัวต้นแบบ ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน DSPM


๓. ขั้นสรุปผล / ขั้นประเมินผล

  ๑. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

  ๒. สรุปผลและรวบรวมผลการดำเนินงาน / รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. บิดา – มารดาหรือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – ๕ ปี / ผู้สังเกตการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย การอุปโภค บริโภค พัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ และสังคม ที่เหมาะสมตามวัย

๒. เด็กปฐมวัยแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง ๔ ด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 11:58 น.