กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-5221-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,899.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ส.ค. 2560 30 ส.ค. 2560 12,975.00
2 30 ส.ค. 2560 30 ส.ค. 2560 20,924.00
รวมงบประมาณ 33,899.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 6528 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 6528 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีสถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกพื้นที่ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยมียุงเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยกิจกรรม 5 ส เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชุมชน เพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชน องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน และทุกภาคส่วน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน และบริเวณบ้าน

2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 16 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน 3.ให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยหลัก 5ป. 5ส. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมผ่านเสียงตามสาย 4.กำหนดวันทำความสะอาด 5.เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร่วมกับทำ Big Cleaning Day ในหมู่บ้าน 6.แจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก 7.สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านทุกเดือน 8.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ให้น้อยลง 2.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 3.สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2560 10:38 น.