กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่าย
รหัสโครงการ 64-L1485-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 4,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กนกพร ส่องแสง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา เขตพื้นที่ หมู่11 และหมู่ 14 ต.ปะเหลียน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2563 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน ๓๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 3,333.33 ต่อประชากรแสน    (ที่มา : ทะเบียนรับแจ้งผู้ป่วยไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปะเหลียน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์นี้ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่าย ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัดและชุมชน

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

0.00
5 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ ๒. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะเหลียน เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 4. แจ้งผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัคร(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ 5. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 6. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 7. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) โดย เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายความรู้พร้อมกับแจกแผ่นพับความรู้ทุกหลังคาเรือน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมกัน ทั้งในโรงเรียน วัดและชุมชน ในช่วงฤดูกาลระบาด จำนวน ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ สายจากหน้าอนามัยไปทางโรงเรียน ครั้งที่ ๒ สาย หมู่ ๑๑ ครั้งที่ ๓ สายหน้าวัด ครั้งที่ ๔ สายเขาค้อม หมู่ ๑๔ 8. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 9. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒.ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๓.ความชุกของลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัด และ ชุมชน ลดลง ๔. ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ๕.ประชาชนเห็นความสำคัญในการป้องกันไข้เลือดออกมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2563 08:50 น.