กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
รหัสโครงการ 64-L1485-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 9,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูตินุช เพชรหิน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศและอัตราความชุกของโรคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และมีปัจจัยสนับสนุนด้านพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ประกอบกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ช่วยให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานอย่างน้อย 135 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบร้อยละ 97 และทำนายว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคนในปี ค.ศ. 2025 และในจำนวนนั้นจะมีมากกว่า 150 ล้านคนที่อยู่ในทวีปเอเซีย ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 เท่า สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเซียนั้นผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544) ความผิดปกติที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเสื่อมของเส้นประสาทและหลอดเลือด ทำให้อัตราความเร็วในการนำสัญญาณประสาทลดลง ความไวของผิวหนังต่อการรับรู้สัมผัสลดลงหรือหายไป (กิตติ อังศุสิงห์, 2533) ซึ่งการเสื่อมของหลอดเลือดและเส้นประสาทมักปรากฏอาการมากที่เท้า ทำให้การรับรู้ความรู้สึกบริเวณเท้าลดลง เกิดอาการชา  เมื่อผู้ป่วยเดินสะดุดของแข็งหรือเหยียบของมีคมจึงไม่รู้สึกตัว เกิดเป็นแผลง่าย นอกจากนี้ยังทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าน้อยลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตายได้ เมื่อเกิดการติดเชื้อที่แผลขึ้นร่วมกับการที่ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลใส่ใจเท้าเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสถูกตัดขาได้เนื่องจากเกิดแผลเนื้อตายที่เท้ามากกว่าคนปกติถึง 40 เท่า(เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544)      จากการศึกษาปรากฏการณ์พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าไม่เหมาะสมในเรื่อง การดูแลและรักษาความสะอาดของผิวหนัง ได้แก่ ไม่ได้ทำความสะอาดเท้าอย่างทั่วถึงทุกส่วน และไม่ทำทุกวัน การไม่ได้ตรวจเท้าหาความผิดปกติ การป้องกันการเกิดแผลที่เท้า ได้แก่การตัดเล็บไม่ถูกต้อง โดยตัดเล็บเท้าสั้นชิดเนื้อและปลายมน และบางคนที่ตัดเล็บเองก็จะใช้ไม้หรือมีด แคะตามซอกเล็บ เมื่อมีเศษดิน สิ่งสกปรก จะใช้ที่ตัดเล็บหรือมีด ตัดหนังหนา ตาปลาของตนเอง ตัดเล็บเท้าโดยไม่ได้ล้างเท้าหรือแช่เท้าให้เล็บอ่อนตัวก่อน  แช่เท้าด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนเมื่อมีอาการเท้าชา หรือเท้าเย็น เหยียบลงพื้นปูนบนถนนที่ร้อน สวมรองเท้าแตะ การส่งเสริมการไหลเวียนเลือด ได้แก่ไม่ได้บริหารเท้า ชอบนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ  การดูแลรักษาบาดแผล ได้แก่เมื่อมีแผลที่เท้าไม่ได้ล้างแผล ทำแผลด้วยแอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน  ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้าซึ่งควรกระทำตั้งแต่เริ่มแรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ผู้ป่วยจะได้รับการสอน การแนะนำ และ สนับสนุน รวมทั้งการกระตุ้นให้กำลังใจ จากทีมสุขภาพเพื่อคงไว้ซึ่งความพยายามในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนทาง สุขภาพ  จากการประเมินผลการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2563 ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 25 คน ผู้ป่วยได้รับการตรวจเท้า 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 ซึ่งมีจำนวนน้อยมากที่ได้รับการคิดกรอง ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการตรวจคัดกรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน จึงได้จัดทำ ตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้า

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้องทั้ง 5 ด้าน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 ประสานงานและขอความร่วมมือจากหน่วยงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.2 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.3 ดำเนินการอบรม
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสาธิตการตรวจและประเมินสุขภาพเท้า 2.4 ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเกิดแผลที่เท้า   2. ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเท้าและดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง   3. ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ถูกต้องทั้ง 5 ด้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2563 09:25 น.