กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-l1483-4-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกจัดเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ระหว่างการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว ก็จะสูญเสียโอกาส ด้านรายได้ หน้าที่การงาน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณสำหรับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก หากไม่มีการจัดการที่ดี ปัญหาโรคไข้เลือดออกก็จะได้สร้างความเสียหายต่อสภาวะสังคม และเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ณ 25 สิงหาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วย 47,738 ราย อัตราป่วย 72.00 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 32 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.07 เขตสุขภาพที่ 12 มีผู้ป่วย 2,599 ราย อัตราป่วย 52.40 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 4 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.15 จังหวัดตรังมีผู้ป่วย 407 ราย อัตราป่วย 63.28 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.49 ผู้เสียชีวิตตรวจพบสารพันธุกรรมไวรัสเดงกี่ ซีโรทัยป์-1 (อำเภอนาโยง) และ ซีโรทัยป์-4 (อำเภอสิเกา) จังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ 34 ของประเทศ อำเภอปะเหลียนมีผู้ป่วย 28 ราย อัตราป่วย 41.58 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต ตำบลบางด้วนมีผู้ป่วย 6 ราย อัตราป่วย 165.87 ต่อแสนประชากร ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกตำบลบางด้วน ในปี 2563 จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม และเกิดการระบาดเกิน 2 รุ่น กลุ่มอายุที่ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงาน ได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี ,กลุ่มอายุ 25-34 ปี กลุ่มอายุ 10-14 ปี และกลุ่มอายุ 15- 24 ปี ตามลำดับ
ปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ประชาชนต้องเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน การกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ การควบคุมยุงลายในระยะที่ยังเป็นลูกน้ำ ทำได้ง่าย ครัวเรือนหรือภาคประชาชนต้องเป็นผู้ปฏิบัติโดยการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุกๆ 7 วัน ทำให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย เมื่อไม่มียุงลายโรคไข้เลือดออกก็ไม่อาจแพร่ระบาดต่อไปได้ และยังเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออื่นๆที่นำโดยยุงลาย ได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ความเสี่ยง เห็นความสำคัญที่จะต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชนของตน และทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64
1 โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก(20 ก.ย. 2565-20 ก.ย. 2565) 17,000.00            
รวม 17,000.00
1 โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 17,000.00 1 17,000.00
16 ส.ค. 64 - 24 ธ.ค. 64 โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 17,000.00 17,000.00
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์แก่แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  3. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยวิธีทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ
  5. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2563 09:30 น.