กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1485-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 7,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. ยุวพา คุณาพิพัฒน์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานนับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ "กรรมพันธุ์" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มตั้งตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำแคลง จังหวัดตรัง ปี 2563 พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 78 ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมด แต่พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 40 ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยต่อโรคเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานและญาติผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 ประชากรกลุ่มป่วยและญาติผู้ดูแลมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน

 

0.00
3 ประชากรกลุ่มป่วยมีผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางไตปกติ

 

0.00
4 ประชากรกลุ่มป่วยมีผลการตรวจเท้าปกติ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านลำแคลง
  2. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้
  3. จัดทำโครงการ เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่แกนนำ ผู้ป่วยเบาหวาน
  5. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและญาติที่ดูแล
  6. ประเมินผลโครงการ ดังนี้
    6.1 ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการบริโภคอาหารก่อนและหลังอบรมเกณฑ์ผู้ป่วยเบาหวาน 20 ราย และญาติผู้ดูแล 20 ราย
    6.2 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 20 ราย และญาติผู้ดูแล 20 ราย
    6.3 ประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ค่าไต
    6.4 ตรวจสุขภาพเท้า
  7. รายงานผลการดำเนินงาน / สรุปผลงาน หมายเหตุ :ในการอบรมจะดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19อย่างเคร่งครัดตามคำสั่งจังหวัดตรังที่ 1801/2563
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระดับความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
  3. ประชากรกลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 3
  4. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ น้อยกว่า 7
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2563 10:00 น.