กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3333-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกฤติยาภรณ์ สีมัสมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.343,100.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมักจะเกิดในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2564 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาลมีการคัดกรองความดันจำนวน 314 คน พบกลุ่มปกติจำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 76.11 พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.37 พบเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 มีอัตราเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2563 (HDCสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง)ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยง ถ้าไม่ได้รับการดูแล หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาระต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูง ก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตปกติ ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อย ๆ นำไปสู่ภาวการณ์เสื่อมสภาพของร่างกายและจิตใจ รวมทั้งก่อให้เกิดความบกพร่องในการสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ข้อเสื่อม ข้อติด รวมทั้งโรคจากความเครียด ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดการออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวและการใช้แรงกายลดลง จากกลุ่มเสี่ยงที่มาจากการคัดกรอง พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 54.84
การออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ดังนั้นประชาชนจึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งได้นำเอา หลักการ ดาน ( DAN = การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ทำให้น่ามอง น่าดู ดูดี D = Diet = ลดน้ำหนักด้วยการคุมอาหาร , A = Activity = การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา การออกกำลังกาย , N = Nice = น่าดู น่ามอง ดูดี อ้างอิงจาก ชมรมฅนบางตาล ดานทุกข์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล)และหลักการ ชวน (CHOUN= เครือข่ายสุขภาพชุมชนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว C = Community = ชุมชน , H = Health = สุขภาพ , O = One = หนึ่งเดียว , U = Union = รวมกัน N = Network = เครือข่าย อ้างอิงจาก ชมรม ฅนเกาะยวนชวนขยับกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล)มาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 2 และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการชาวเกาะยวนชวน (CHOUN) ไปดาน (DAN) ต้านโรคความดันโลหิตสูง (C2D) ปี 2564ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านเกาะยวน ซึ่งเป็นพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้มีการออกกำลังกาย

ร้อยละ 20 กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 9,900.00 0 0.00
4 - 30 ม.ค. 64 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม 50 9,900.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ออกกำลังกาย 50 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประเมินผลและสรุปผล 50 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 วัดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 50 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 วัดความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ 50 0.00 -
4 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 มอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 50 0.00 -
  1. วัดค่าความดันโลหิต และวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  2. ทดสอบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เมาะสมของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม แจกสื่อความรู้
  4. ทดสอบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเข้าร่วมโครงการ
  5. จัดกิจกรรมออกกำลังกาย(แอโรบิค) และแจกสมุดบันทึก C2D เพื่อบันทึกค่าความดันโลหิต และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ติดตามผลเป็นรายสัปดาห์ ขั้นประเมินและสรุปผล
  6. ใช้แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
  7. วัดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
  8. จัดทำรายงานรูปเล่ม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง
  2. มีการสร้างแกนนำออกกำลังกาย
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการบริโภคอาหารที่ลดปัจจัยเอื้อต่อโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 09:31 น.