กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
รหัสโครงการ 64-L7250-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 79,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1305 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ เป็นต้น ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ มีพื้นที่รับผิดชอบ 10 ชุมชน ประชากรในพื้นที่ประมาณ 4,714 คน มีจำนวน 2,230 หลังคาเรือน คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย จากการสำรวจมีทั้งร้านขายของชำ ร้านอาหาร แผงลอย เป็นจำนวนมาก    วิถีชีวิตคนในเมืองโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้
จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ในปี 2563 พบปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวนผู้ป่วย 1,026 คน โรคเบาหวาน จำนวนผู้ป่วย 735 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง จำนวนผู้ป่วย 120 คน ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆ มาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อเร่งรัดการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและลดการเกิดโรครายใหม่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมกับสภาพปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำสุขภาพมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่
  1. ร้อยละ 100 กลุ่มแกนนำสุขภาพสามารถให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน
100.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และความดันโลหิตลดลง
80.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
80.00
4 ๔. เพื่อตรวจประเมินและสำรวจข้อมูลสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย

๔. ร้อยละ 80 ร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแกนนำสุขภาพ และ อสม. ในพื้นที่เพื่อระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน
  2. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  3. กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 30 ปีขึ้นไป ในชุมชนที่รับผิดชอบ    (แบบบันทึกคัดกรองความเสี่ยง)
  4. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งติดตามภาวะความดันโลหิตที่บ้าน ในระยะ 1-3-6 เดือน เป็นรายบุคคลที่บ้าน และแปลผล (ก่อนและหลัง) โดยใช้ตารางปิงปอง 7 สี
  5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อและการป้องกันโรคแทรกซ้อน กิจกรรมชมรมเฟื่องฟ้า ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1-3-6 เดือน
  6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก /บอกเล่าประสบการณ์
  7. กิจกรรมตรวจร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ โดยประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
  8. การประเมินผล สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองครอบคลุมตามกลุ่มวัยในทุกชุมชน
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่
  4. ร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำ ได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 09:37 น.