กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ”

ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
(นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L7250-1-08 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L7250-1-08 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 78,510.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 0-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสอนงความต้องการขึ้นพื้นฐานและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กตามช่วงอายุ ปีงบประมาณ 2563 ของศูนย์บริการสาธารณสุข  สระเกษ จำนวน 75 ราย พบเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 47 และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.33 และจากการประเมินเด็กก่อนวัยเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ 10 ชุมชน มีจำนวน 135 คน ได้รับการตรวจโภชนาการ จำนวน 121 คน พบว่ามีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 21.78 น้ำหนักค่อนข้างน้อย    จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 8.47 พบเด็กค่อนข้างเตี้ย จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 13.31 พบเด็กเตี้ย จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 53.24 พบเด็กค่อนข้างผอม จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.05 และพบเด็กผอม จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 15.73 (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสงขลา วันที่ 14 กันยายน 2563) ดังนั้นพัฒนาการและโภชนาการตามวัยจึงมีความสำคัญ ส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะต่างๆให้มีความสมบูรณ์ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้มีการส่งเสริมเพื่อให้เด็กได้รับศักยภาพตามวัย ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ”โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุข  สระเกษ ปีงบประมาณ 2564” ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
  2. ๒. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการสมวัยได้รับการส่งเสริมโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
  3. ๓. เพื่อให้มีมุมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก ๐ – ๖ ปี ที่ได้มาตรฐาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 168
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    เด็ก ๐ – ๖ ปีได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาที่ถูกต้องตามวัย


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงโครงการ ๓. ดำเนินการจัดทำมุมพัฒนาการเด็ก 0-6 ปี โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุข     4. กิจกรรมประเมินการเจริญเติบโตก่อนรับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง  วัดรอบศรีษะ พร้อมแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโต สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนติดตามราย ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ให้คำแนะนำเรื่องอาหารพร้อมให้อาหารเสริม (นม) แก่เด็กทุกวัน และติดตามทุก 1 เดือน 5. กิจกรรมประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ โดยใช้เครื่องมือ DSPM หากพบพัฒนาการล่าช้า ดำเนินการกระตุ้นพัฒนาการจาก อสม.และเจ้าหน้าที่ 1 เดือน หากยังพบล่าช้าหลังจากกระตุ้น ส่งต่อพบแพทย์จิตเวชเด็ก 6. ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ 7. สรุปโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ โดยใช้เครื่องมือ DSPM ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ซึ่งผลการดำเนินงาน ดังนี้ ๑. เด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 138 คน - ได้รับการประเมิน จำนวน 138 คน ร้อยละ 100 โดยแยกเป็นช่วงอายุ (9,18,30,42,60เดือน)
     อายุ 9 เดือน จำนวน 26 คน
     อายุ 18 เดือน จำนวน 29 คน
     อายุ 30 เดือน จำนวน 44 คน
     อายุ 42 เดือน จำนวน 27 คน
     อายุ 60 เดือน จำนวน 12 คน
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 118 คน ร้อยละ 85.51  อายุ 9 เดือน จำนวน 18 คน
     อายุ 18 เดือน จำนวน 22 คน
     อายุ 30 เดือน จำนวน 38 คน
     อายุ 42 เดือน จำนวน 24 คน
     อายุ 60 เดือน จำนวน 16 คน


    • สงสัยล่าช้า จำนวน 20 คน ร้อยละ 14.49  อายุ  9 เดือน จำนวน 8 คน
       อายุ 18 เดือน จำนวน 5 คน
       อายุ 30 เดือน จำนวน 4 คน
       อายุ 42 เดือน จำนวน 3 คน
      จากผลการติดตามเด็กที่มีผลพัฒนาการล่าช้าหลังได้รับการกระตุ้นติดตาม 1 เดือน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามโดยแกนนำ อสม. ครบทุกรายและผลการกระตุ้นจากผู้ปกครองผลการติดตามสมวัยทุกราย ร้อยละ 100
      ผลการดำเนินกิจกรรมประเมินโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และนำไปเปรียบเทียบกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตเด็ก จากสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง ดังนี้  น้ำหนักค่อนข้างมาก จำนวน 3 ราย ร้อยละ 10
    • อายุ 18 เดือน จำนวน 1 ราย
    • อายุ 30 เดือน จำนวน 1 ราย
    • อายุ 42 เดือน จำนวน 1 ราย
       น้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 18 ราย ร้อยละ 60
    • อายุ 9 เดือน จำนวน 4 ราย
    • อายุ 18 เดือน จำนวน 1 ราย
    • อายุ 42 เดือน จำนวน 8 ราย
    • อายุ 60 เดือน จำนวน 5 ราย
       น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 9 ราย ร้อยละ 30
    • อายุ 30 เดือน จำนวน 6 ราย
    • อายุ 42 เดือน จำนวน 3 ราย

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-6 ปี ได้รับการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการ
    90.00

    กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพัฒนาการ
    ร้อยละ ๑๐๐ (จำนวนเด็ก 138 คน)

    2 ๒. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการสมวัยได้รับการส่งเสริมโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : ๒. ร้อยละ 85 เด็กมีพัฒนาการสมวัย
    85.00
    • กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85.51 (จำนวนเด็ก 118 คน)
    3 ๓. เพื่อให้มีมุมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก ๐ – ๖ ปี ที่ได้มาตรฐาน
    ตัวชี้วัด : ๓. ร้อยละ ๘๐ เด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงเหมาะสมกับวัย ๔. ร้อยละ 100 มีมุมส่งเสริมพัฒนาการสุขภาพเด็กดีคุณภาพ
    100.00
    • กลุ่มเป้าหมายมีโภชนาการเหมาะสมกับวัย ร้อยละ 60 (จำนวนเด็ก 18 คน)

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 168 168
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 168 168
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย (2) ๒. เพื่อให้เด็ก ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการสมวัยได้รับการส่งเสริมโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ (3) ๓. เพื่อให้มีมุมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก ๐ – ๖ ปี ที่ได้มาตรฐาน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 64-L7250-1-08

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( (นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด