กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพ และเฝ้าระวังควบคุมโรคไม่ติดต่อ ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
รหัสโครงการ 64-L7250-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 79,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางวสุธิดา นนทพันธ์) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การปฏิรูปความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนทุกกลุ่มวัย ให้มีศักยภาพในการดูแลตนเอง โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 6,513 คน จำนวน 2,317 หลังคาเรือน ซึ่งประชากรเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุข ทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยมีผลการดำเนินงานการให้บริการ ในปี 2563 พบว่า จากการประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ 0-6 ปี จำนวน 161 ราย พบเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จำนวน 140 ราย คิดเป็นร้อยละ86.95 และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.04 กลุ่มสตรีอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ได้รับการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ปี 2563 ร้อยละ 62.68 กลุ่มสตรี อายุ ๓๐ - 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 ร้อยละ 4.41 กลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ ปี 2562 ร้อยละ 97.14  ปี 2563 ร้อยละ 97.56 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังใหม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปี 2562 ร้อยละ 98.26 ปี 2563 ร้อยละ 97.56 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงได้รับการดูแลและตรวจตามมาตรฐานเฉพาะโรค ปี 2563 ร้อยละ 93.00 และจากการสำรวจร้านชำ ปี 2563 จำนวน 15 ร้าน พบว่า มี 2 ร้าน ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภค (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสงขลา วันที่ 30 สิงหาคม 2563) ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งระดับบุคคล และระดับครอบครัว จากข้อมูลการดำเนินงานดังกล่าวศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงเทศบาลนครสงขลา ได้เล็งเห็นความสำคัญ    ที่จะดูแลประชาชนแบบองค์รวมและเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน ลดการเกิด  โรครายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรังและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สามารถดูแลตนเอง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ฝึกทักษะให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข มีสภาพร่างกาย จิตใจสมบูรณ์ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็ก 0 - 6 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและมีมุมพัฒนาการที่ได้มาตรฐาน
  1. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-6 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและมีมุมพัฒนาการที่ได้มาตรฐาน
90.00
2 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  1. ร้อยละ ๘๐ หญิงอายุ  ๓๐ - ๗๐  ปี  ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้
80.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  1. ร้อยละ ๒๐ หญิงอายุ  ๓๐ - ๖๐  ปี  ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
20.00
4 4. เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในวัดเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
  1. น้อยกว่าร้อยละ  5  กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่
5.00
5 5. เพื่อให้ร้านชำ/ร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  1. ร้อยละ ๙๐ กลุ่มโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงติดตาม ประเมินผลงานภาคประชาชน การประชุมวางแผน การดำเนินงาน ติดตามผลงาน ด้านสุขภาพ 2. กิจกรรมสำรวจประชากรที่มีอยู่จริง Type 1,3 /ทะเบียนบ้าน/ทำแผนที่เดินดิน/การขึ้นทะเบียน    สิทธิประกันสุขภาพ 3. จัดทำมุมพัฒนาการเด็กและตรวจประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ 0 - 6 ปี
3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน 4. จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5. จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ โควิด-19 ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา ตาแดง ท้องเสีย ลดการ  ใช้โฟม – ถุงพลาสติก ณ วัดศาลาหัวยาง 6. กิจกรรมการตรวจประเมินร้านขายของชำ/ร้านอาหาร 7. การติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็ก 0 - 6 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและมีมุมพัฒนาการที่ได้มาตรฐาน 2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการตรวจมะเร็งปากมดลูก 3. ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค 4. วัดในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงสามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ 5. ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 09:51 น.