กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ”

ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
( ทพญ.นนทิพา เอกอุรุ ) ตำแหน่ง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ

ชื่อโครงการ โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L7250-1-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L7250-1-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 235,740.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากการดำเนินโครงการในปี 2562 งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ได้ทำการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มอายุพบว่า เด็กแรกเกิด 0 - 2 ปี ที่เข้ามารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี จำนวน 207 คน มีปัญหาฟันน้ำนมผุ จำนวน 16 คน ร้อยละ 7.72 เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3 – 5 ปี จำนวน 844 คน มีปัญหา ฟันผุ จำนวน 441 คน ร้อยละ 46.6 เด็กกลุ่มวัยเรียน อายุ 6 – 12 ปี จำนวน 1,612 คน มีปัญหาฟันผุ จำนวน  963 คน ร้อยละ 54.62 หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 35 คน มีปัญหาฟันผุ จำนวน 15 คน ร้อยละ 42.86 และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 474 คน มีปัญหาฟันผุ จำนวน 206 คน ร้อยละ 43.56 จากปัญหาดังกล่าว การดูแลสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กกลุ่มวัยเรียน โดยเน้นการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ควบคุมพฤติกรรมบริโภคลดการบริโภคอาหารหวาน และการทาฟลูออไรด์วานิช เคลือบหลุมร่องฟันแท้ เพื่อช่วยเสริมการป้องกันฟันผุ ร่วมกับการแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ดูแลเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ มีปัญหาเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมถึงการใส่ฟันปลอม ซึ่งการดูแลทำความสะอาดฟันปลอมยังไม่ถูกสุขลักษณะ และด้วยสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัส covid – 19          งานทันตสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จึงได้ปรับรูปแบบบริการทันตสาธารณสุข รับ New normal โดยจัดทำโครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2563 (ทันตกรรมแบบ New normal) ที่ผ่านการคัดกรองเบื้องต้น และปฏิบัติตามหลัก Social distancing เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 2.1 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. 2.2 เพื่อทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ
  3. 2.3 เพื่อเคลือบหลุมร่องฟันแท้ป้องกันฟันผุ
  4. 2.4 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 4,210
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    9.1 ทุกกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างครบถ้วน   9.2 ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก   9.3 ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรมที่ครอบคลุม
      9.4 ทุกกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนฟันผุที่ลดลง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ขั้นเตรียมการ   1. สำรวจข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา   2. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ   3. ประชุมชี้แจงติดต่อประสานงาน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตเทศบาลนครสงขลาเพื่อทำ
        ความเข้าใจที่ตรงกันและสะดวกต่อการสร้างภาคีเครือข่าย   4. เตรียมข้อมูล เอกสารต่างๆและวัสดุอุปกรณ์ พร้อมสื่อในการจัดทำโครงการ

    ขั้นดำเนินการ   1. ตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการเบื้องต้น วัดอุณหภูมิร่างกายซึ่งต้องไม่เกิน 37.5 และต้องไม่มีอาการ น้ำมูกไหล ไอ จาม เป็นต้น   2. ตรวจสุขภาพช่องปากของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอายุ   3. ทาฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุทุกกลุ่มอายุ   4. เคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ในเด็ก 6 -12 ปี   5. ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพปากและสาธิตการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี
      ดำเนินการกิจกรรมในโครงการแบบ New normal และปฏิบัติตามหลัก Social distancing จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ในเด็ก 0 – 2 ปี
    1. ตรวจสุขภาพช่องปาก ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง 2. ให้ความรู้โดยใช้สื่อและอุปกรณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมโดยเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพร้อมแจกบัตรนัดมารับบริการต่อเนื่องครั้งต่อไปทุก 3 เดือน 3. ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน
    1. ตรวจฟันเด็ก และทาฟลูออไรด์วานิช ปีละ 2 ครั้ง
    โรงเรียนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงเทศบาลนครสงขลา จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 3, , รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ, รร.ศิริพงศ์วิทยา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน  4 ศูนย์ ได้แก่ ศพด.ท่าสะอ้าน, ศพด.เก้าเส้ง, ศพด.ไทรงาม, ศพด.กุโบร์
    2. จัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม 3. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน


    กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 1. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์เพื่อในการออกตรวจฟัน ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2. ตรวจฟัน/ทาฟลูออไรด์ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 4 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 3, รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ และรร.ศิริพงศ์วิทยา แจกผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนทุกคนและผู้ปกครองได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน และนำบุตรหลานมารับการรักษาสุขภาพช่องปากได้ทันท่วงทีก่อนที่โรคฟันผุจะลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม 3. รับเด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 มาเคลือบหลุมร่องฟัน(sealant) ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข  เตาหลวง (จำนวน 1,731 คน) 4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอด ที่ขึ้นทะเบียนโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก และหญิงมีครรภ์ที่ส่งต่อมาจาก รพ.สงขลา ในเขตศูนย์บริการสาธารณสุข เตาหลวง ประจำปีงบประมาณ 2564 1. ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์อย่างละเอียดพร้อมบันทึกข้อมูลนำผลที่ได้มาวางแผนการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง 2. นัดหญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากซึ่งอายุครรภ์ที่สามารถรับบริการทันตกรรมได้คือ (อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) มารับบริการทันตกรรม ขูดหินน้ำลาย เคลือบฟลูออไรด์วานิช
    3. มีการเยี่ยมหลังคลอดหญิงมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการและหญิงมีครรภ์ที่ส่งต่อมาจาก รพ.สงขลา ในเขตศูนย์บริการ
    สาธารณสุขเตาหลวง 4. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กแรกคลอดและคุณแม่หลังคลอด
    5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพผู้สูงอายุ
    1. จัดกิจกรรม ณ. คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง โดยการ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยผู้สูงอายุพร้อมทั้งสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีและทาฟลูออไรด์วานิชแก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ 2. แนะนำและนัดผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากทุกคนมารับบริการทันตกรรม ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 2.1 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    ตัวชี้วัด : 3.1 เด็ก 0 – 2 ปี ได้รับการ ตรวจ/ เคลือบฟลูออไรด์ ร้อยละ 60
    60.00 100.00

     

    2 2.2 เพื่อทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ
    ตัวชี้วัด : 3.2 เด็ก 3 – 5 ปี ได้รับการ ตรวจ/ เคลือบฟลูออไรด์ ร้อยละ 50
    50.00

    ตัวชี้วัดที่ 2และ 3ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ขยายเวลาดำเนินโครงการไปปีงบ ประมาณ 2565)

    3 2.3 เพื่อเคลือบหลุมร่องฟันแท้ป้องกันฟันผุ
    ตัวชี้วัด : 3.3 เด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ตรวจ/ เคลือบฟลูออไรด์ ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ ร้อยละ 50
    50.00

    ตัวชี้วัดที่ 2และ 3ไม่ได้ดำเนินกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ขยายเวลาดำเนินโครงการไปปีงบ ประมาณ 2565)

    4 2.4 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก
    ตัวชี้วัด : 3.5 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์ ร้อยละ 70
    70.00 100.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4210 4210
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 4,210 4,210
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 2.1 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) 2.2 เพื่อทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ (3) 2.3 เพื่อเคลือบหลุมร่องฟันแท้ป้องกันฟันผุ (4) 2.4 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 64-L7250-1-12

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ( ทพญ.นนทิพา เอกอุรุ ) ตำแหน่ง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด