กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประกวดบ้านสะอาด ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 62-L7250-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 266,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางศรินทิพย์ มุณีสว่าง) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค
คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อย และที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม
ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดหรือชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ปี 2563 (ข้อมูล ณ 28 กันยายน 2563) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 59,842 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 90.10 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้เสียชีวิต 38 ราย
คิดเป็น อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.06 จากการรายงานข้อมูลสถานการณ์และการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ปี 2563 (กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ 28 กันยายน 2563) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,024 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 72.68 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้เสียชีวิต 1 ราย และพื้นที่ในเขตเทศบาล พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 34 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 56.00 ต่อประชากรแสนคน
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมานั้นมีประชาชนให้ความร่วมมือเพียงบางหลังคาเรือน ซึ่งไม่สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจ ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมโรคอย่างพร้อมเพรียงทั้งหมู่บ้านหรือชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน ทั้งองค์กรเครือข่าย ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล รวมทั้งนำแนวทางบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลนครสงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการประกวดบ้านสะอาด ชุมชนปลอด โรคไข้เลือดออก เพื่อให้การดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  1. ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงไม่เกิน 56 ต่อประชากรแสนคน และไม่พบอัตราตายด้วย โรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า 56 ต่อประชากรแสนคน และไม่พบอัตราตายด้วย               โรคไข้เลือดออก
    1. อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI < 10)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. กิจกรรมชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก     3.๑ เสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ
    3.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก     3.3 ประชุมคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันกำหนดเกณฑ์ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก 3.3 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง อสม. ในการดำเนินกิจกรรมชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก 3.4 ดำเนินการประกวดชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก พร้อม 3.5 ลงสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย
3.6 สรุปผลการลงสุ่มสำรวจ     3.7 มอบรางวัลแก่ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก   ๒. กิจกรรมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก     2.1 ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก     2.2 ดำเนินการสอบสวนโรคภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรายงานผลการ   สอบสวนโรค     2.3 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ ๒ ครั้ง ห่างกัน ๑ สัปดาห์ในบ้านและบริเวณรอบบ้านผู้ป่วย เพื่อ   ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก     2.4 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงก่อนเปิดภาคเรียน ๒ ครั้ง ให้กับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขต    เทศบาลนครสงขลา     2.5 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงแบบปูพรมในพื้นที่ระบาด ๒ ครั้ง     2.6 กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี     2.7 แจกทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายให้แก่ชุมชนและหน่วยงานราชการ     2.8 ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก
    1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า 56 ต่อประชากรแสนคน
    2. ไม่มีอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 10:25 น.