กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการจมน้ำ (ผู้ก่อการดี)ทีมตำบลท่าสาป
รหัสโครงการ 60-50102-7(2)-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารีพ๊ะบุญมาเลิศ
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,219 คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออกถึง 14 เท่าตัวจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549-2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน นอกจากนี้ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากจมน้ำ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 – 2558)กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อย ได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือแม้แต่สระว่ายน้ำภายในบ้านของตนเอง ซึ่งพบว่าเด็กเล็กมักจะจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเล็กน้อยประมาณ 1-2 นิ้วเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากผู้ดูแลเด็กทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เข้าห้องน้ำ ทำกับข้าว คุยโทรศัพท์ เปิด-ปิดประตูบ้าน เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ประกอบกับขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในบ้าน ซึ่งไม่คิดว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจะเป็นอันตรายเพราะมีระดับน้ำเพียงเล็กน้อย โดยกลุ่มเด็กเล็ก มักเดินตามเป็ดหรือสุนัข และพลัดตกลงไปในน้ำในบ่อน้ำ รอบๆบ้านได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก จากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) เป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงสุด ในบางปีมีจำนวนสูงเกือบ 400 คน ส่วนเดือนที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดคือเมษายน เฉลี่ย 134 คน โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนในปี 2558 ที่ผ่านมา มีข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 250 คน จึงขอให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้ความระมัดระวังและร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
สำหรับตำบลท่าสาป พบเด็กจมน้ำจากแม่น้ำปัตตานีที่ไหลผ่านตำบลท่าสาปเป็นประจำทุกปี จากมูลเหตุดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นจะต้องฝึกหัดให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้ฝึกหัดว่ายน้ำ หรือ”ว่ายน้ำเป็น. และเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลท่าสาป จึงจัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำ (ทีมผู้ก่อการดี)ให้กับทีม เด็กนักเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา โดยจะจัดให้มีการฝึกทักษะการว่ายน้ำและการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำให้เด็กนักเรียนและเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน (เมษายน – พฤษภาคม 2560 )

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน สามารถว่ายน้ำเป็นจนเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำ
  • นักเรียนและเยาวชน ร้อยละ 80 มีความรู้และมีทักษะสามารถว่ายน้ำเป็น และเอาชีวิตรอดจากประสบเหตุทางน้ำได้
2 ข้อที่ 2. เพื่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียนและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รู้จักและสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล
  • นักเรียนและเยาวชน ร้อยละ 80 มีการฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำในพื้นที่
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ
  3. วางแผนการดำเนินโครงการ จัดตั้งคณะทำงาน และประชุมชี้แจงคณะทำงาน
  4. จัดอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  5. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลให้กองทุนฯทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสอนว่ายน้ำทุกคน สามารถว่ายน้ำเป็นเมื่อจบกิจกรรม
  2. เด็กนักเรียนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสอนว่ายน้ำทุกคน จะมีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2560 15:15 น.