กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด๑๙ (COVID-19) กรณีโรคระบาด
รหัสโครงการ 64 – L1529 -5 -01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 ธันวาคม 2563 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 34,895.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมฤทัย ล้มเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ธ.ค. 2563 30 เม.ย. 2564 34,895.00
รวมงบประมาณ 34,895.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด๑๙ (COVID-19)
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคโควิด 19 (Covid-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโครซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ซื้อขายอยู่และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วยดังนั้น เราควรดูแลตัวเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อโรคโครานา ประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (Covid-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง หน้าที่ 1 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยรายใหม่ยืนยันติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 121 ราย รักษาหายและแพทย์ ให้กลับบ้าน จำนวน 4,152 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต จำนวน 60 ราย และผู้ป่วยสะสม จำนวน 6,141 ราย เทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีประชากร จำนวน 4,970 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 1,416 ครัวเรือน และคาดว่ามีประชากรแฝงประมาณ 1,000 คนในเขตพื้นที่ โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มักเดินทางไปกลับต่างจังหวัดจำนวนหนึ่ง อันเป็นผลให้การเกิดโรคระบาดดังกล่าวได้ ซึ่งวิธีการรับมือในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ หรือหากมีอาการไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที         ผู้ว่าฯ ตรัง เน้นย้ำมาตรการโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด จากกรณีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครในช่วงที่ผ่านมานั้น ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่ ได้ประชุมในวันนี้โดยสรุปมาตรการการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของ โควิด-19 โดยแบ่งพื้นที่สถานการณ์ออกเป็น 4 เขต คือ 1. พื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่ (ย่อย) 2. พื้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) เป็นพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3. พื้นที่เฝ้าระวังสูง (พื้นที่สีเหลือง) คือ พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย และมีแนวโน้มสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ 4. พื้นที่เฝ้าระวัง (พื้นที่สีเขียว) คือ พื้นที่ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อและยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีผู้ติดเชื้อ   ในส่วนของจังหวัดตรังอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีเขียว หรือ พื้นที่เฝ้าระวัง โดยต้องกำหนดให้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง เน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 คือ สวมหน้ากากอนามัย 100% เน้นทำความสะอาดมือ สถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก และการติดตั้งและสแกน Application ไทยชนะอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลท่างิ้ว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 จึงขอดำเนินการโครงการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กรณีโรคระบาดขึ้น โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หน้ากากอนามัยและจัดซื้อแอลกอฮอล์เจลล้างมือแจกจ่ายให้แก่กลุ่มเสี่ยง เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  2) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้ว   3) กำหนดคุณลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงราคากลางที่ต้องการจัดซื้อ   4) ประสานกองคลังเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการควบคุมป้องกันโรคระบาด   5) ดำเนินการแจกจ่ายหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจลล้างมือให้กับกลุ่มเสี่ยง   6) สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมป้องกันโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -2019) ในพื้นที่ตำบลท่างิ้วได้
  2. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 11:43 น.