กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองวัณโรคในชุมชนและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าลาด
รหัสโครงการ 2564-L3311-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าลาด
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกมลเนตร เส้งสุ้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหา วัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่าง (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2548) วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกมาเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันทั่วโลกยังมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากวัณโรคเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องหยุดยั้ง เนื่องจากมีผลกระทบต่อความสูญเสียต่อภาวะสังคม เศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคไม่ลดลงเพราะความยากจน แรงงานเคลื่อนย้าย แรงงานต่างชาติ สิ่งแวดล้อมที่แออัด ที่เอื้อต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และผลกระทบจากการระบาดของโรคเอดส์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้น อัตราการตายสูง และมีปัญหาเชื้อดื้อยาวัณโรคเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง (High TB burdencountries) และคาดว่าสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดทั้งรายเก่าและรายใหม่ (Prevalence) ประมาณ 110,000 ราย หรือ 161 ต่อแสนประชากร ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยรายใหม่ (Incidence) เกิดขึ้นประมาณ 98,000 รายต่อปี หรือ 124 ต่อแสนประชากร และอัตราการตาย (Mortality) 14 ต่อแสนประชากรหรือประมาณ 9,800 ราย(กรมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,25425)
      การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรควัณโรคของรพ.สต.บ้านท่าลาด ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้าทำให้มีโอกาสในการแพร่เชื้อในชุมชนได้นาน การค้นหาผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุม ผู้ป่วยยังขาดความรู้และการติดตามอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้ป่วยทานยาไม่ครบกำหนด ส่งผลทำให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคเกิดการดื้อยา สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 9 ล้านราย แต่เข้าถึงการรักษาเพียง 6 ล้านราย ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าลาด จึงได้ทำโครงการตรวจคัดกรองวัณโรคในชุมชนและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเพื่อคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรควัณโรคในชุมชน อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคและเร่งสร้างความรู้เพื่อเป็นเกราะป้องกันสุขภาพของคนในชุมชนให้ห่างไกลจากวัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 2.เพื่อให้ความรู้และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค แก่ อสม. และแกนนำชุมชน
  1. ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม
0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคและได้รับการคัดกรองวัณโรคจาก อสม.และผู้นำชุมชน

3.ร้อยละ 90 กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองวัณโรค

0.00
4 4.เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

4.ร้อยละ 100 กลุ่มสงสัยวัณโรคได้รับการส่งต่อและเอ็กซเรย์ปอดทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นตอนการวางแผนการดำเนินการ   - เสนอแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติ   - ประสานการทำงานร่วมกับ รพ.เขาชัยสน   - ประชาสัมพันธ์โครงการ
2. ขั้นการดำเนินงาน   - ชี้แจงนโยบายเร่งรัดหยุดยั้งวัณโรคแก่ อสม.และแกนนำชุมชน
  - อบรมแกนนำ อสม. และแกนนำชุมชน เกี่ยวกับโรควัณโรค การค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและดูแลติดตามผู้ป่วย   - ให้ความรู้ประชาชนในวันประชุมหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
  - ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้วยหอกระจายข่าว
  - คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง โดย อสม.
  - เก็บเสมหะในผู้ป่วยสงสัยจากการคัดกรองในชุมชนเพื่อส่งตรวจเสมหะ   - ส่งตัวอย่างเสมหะของกลุ่มตัวอย่างที่สงสัยตรวจทางห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลเขาชัยสน
  - เอกเซเรย์ปอดในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองในชุมชน
  - ติดตามและให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนเพื่อป้องกันการกินยาไม่ต่อเนื่องและควบคุมโรคไม่ให้ระบาดต่อไป 3. ขั้นประเมินผล
  - ประเมินผลการดำเนินงานโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม. และแกนนำชุมชน มีความรู้และทักษะการคัดกรองวัณโรค   2.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค   3.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการติดตามรักษาจนครบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 13:30 น.