กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพของพนักงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 64-L7250-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานรักษาความสะอาด
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 257,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นายสุนทร ทองสม ) ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครสงขลา ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและอนามัยตลอดจนการดูแลเอาใจใส่คุณภาพชีวิตของพนักงาน จึงส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี พร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และการมีสุขภาพที่ดียังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การดำรงชีวิตในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหามลพิษต่างๆ มากมาย รวมทั้งผลกระทบจากการทำงานที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อีกทั้งเป็นการเฝ้าระวังการเกิดโรค การลดความรุนแรงของโรคและยังสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้ ตลอดจนสามารถให้การรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงและหายจากอาการของโรคได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การเก็บขน สิ่งปฏิกูล การพ่นสารเคมีกำจัดยุง การตรวจสุขาภิบาลอาหาร และการดูแลรักษาผู้ป่วย การปฏิบัติงานเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนทำงาน จากการตรวจสุขภาพของพนักงานจ้างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปี 2561 พบว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ จำนวน 59 ราย จากพนักงานทั้งหมด 290 คน เป็นผู้หญิง 10 ผู้ชาย 49 คน ผลการตรวจร่างกาย และจากการตรวจสุขภาพของพนักงานจ้างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปี 2563 พบว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ จำนวน 220 ราย จากพนักงานทั้งหมด 240 คน ผลการตรวจร่างกายพบว่าพนักงานที่เป็นโรคอ้วน จำนวน 137 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 61 คน ความเข้มข้นของเลือดต่ำ จำนวน 11 คน โรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 135 คน น้ำตาลในเลือดผิดปกติ จำนวน 43 คน ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ จำนวน 28 คน และได้มีการส่งต่อการรักษาของพนักงานจ้างที่มีผลการตรวจผิดปกติให้กับโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 10 คน ดังตาราง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อให้พนักงานจ้างได้รับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

3.1 พนักงานจ้างได้รับการตรวจและทราบผลการตรวจสุขภาพ  ร้อยละ 100

100.00
2 2.2 เพื่อให้พนักงานจ้างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

3.2 พนักงานจ้างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

100.00
3 2.3 เพื่อให้พนักงานจ้างสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้

3.3 พนักงานจ้างสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1. สำรวจจำนวนพนักงานจ้างงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา 2. ศึกษาเกณฑ์การตรวจสุขภาพพนักงานจ้างของกรมการแพทย์ 3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ
  ขั้นดำเนินการ
1. จัดเตรียมเอกสารในการตรวจสุขภาพพนักงานจ้างงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา   2. ประชุมคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พนักงานที่มี ปัญหาด้านสุขภาพจาการตรวจในปีงบ 2563
5. แบ่งกลุ่มร่วมกิจกรรมฐานความรู้ 5 ฐาน 6. ตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
7. ติดตามผลการตรวจและแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้พนักงานจ้างได้รับทราบ     8. ส่งต่อการรักษาของพนักงานจ้างที่มีผลการตรวจผิดปกติให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 2 ศูนย์ 9. กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 พนักงานจ้างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมที่จะปฏิบัติงานให้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 15:21 น.