กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการม่วงเตี้ยปลอดภัยไร้โรคติดต่อ
รหัสโครงการ 64-L3020-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สอ.ต.ม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัจมีย์ เจะหลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการในการรณรงค์แก้ไขปัญหาการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แต่ตัวชี้วัดดังกล่าวก็ยังไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้เนื่องจากผู้ปกครองบางส่วนกลัวผลข้างเคียงหลังการได้รับวัคซีนในเด็ก และมีความเชื่อและความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับวัคซีนทำให้เด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่เสียชีวิตและพิการจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานโดยในปีที่ผ่านมา รพ.สต.ม่วงเตี้ย มีเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ป่วยด้วยโรคหัด(หรืออื่นๆ) จำนวนทั้งสิ้น 18 คน เสียชีวิต 0 คน
  จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพม่วงเตี้ย จึงได้ร่วมกับโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ในการพัฒนา "กลไกส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี" ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดวางแผนและดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เริ่มตั้งแต่ การทำความรู้จัดชุมชน การวิเคราะห์ปัญหา นำมาวางแผนหรือการพัฒนากลไกการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ และวิพากย์กลไกโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จนได้ "กลไก 4 เสาหลัก หรือกะบะฮ์โมเดล" ซึ่งอาศัยการขับเคลื่อนโดยกลุ่มคน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน (เสาที่ 1 มัสยิด) บุคลากรทางสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (เสาที่ 2 โรงพยาบาล) พ่อแม่หรือผู้ปกครอง (เสาที่ 3 บ้าน) และครูในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก (เสาที่ 4 โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) มาเป็นกลไกหลักในการผลักดันให้การป้องกันและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ดำเนินต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
  ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำ "กลไกส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี หรือกลไก 4 เสาหลัก (กะบะฮ์โมเดล)" มาใช้ในการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่ตำบล/หมู่บ้าน เพื่อป้องก้นโรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน การลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ระยะเตรียมการ
1.จัดประชุมชี้แจงการนำกลไกสี่เสาหลักไปใช้ แก่แกนนำที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ครูสุขศึกษาหรืออนามัยโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2.มอบหมายภารกิจ/หน้าที่รับผิดชอบให้แก่แกนนำกลไลสี่เสาหลัก (เอกสารแนบ:กลไกสี่เสาหลัก)
  ระยะดำเนินการ
1.แกนนำของแต่ละเสาหลักดำเนินการตามกิจกรรมในกลไลสี่เสาหลัก
2.นักวิชาการสาธารณสุขผู้รับปผิดชอบงาน EPI/ทีมที่ปรึกษาจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรม ให้คำปรึกษา และติดตามผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 หรือตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือร้อยละ 90
2.จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่เจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลงจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ 50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 14:33 น.